การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3.

Main Article Content

นายสมพล จันทรส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร งานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 2) เปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 132 คน และครูผู้สอน จำนวน 335 คน ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยภาพรวม ในระดับมากที่สุด พบว่า ด้านที่มีระดับการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลในระดับมากที่สุด ได้แก่ การบริหารงานบุคคลตามหลักความโปร่งใส รองลงมาคือ การบริหารงานบุคคลตามหลักนิติธรรม การบริหารงานบุคคลตามหลักความรับผิดชอบ การบริหารงานบุคคลตามหลักความคุ้มค่า การบริหารงานบุคคลตามหลักคุณธรรม และการบริหารงานบุคคลตามหลักความมีส่วนร่วม
2. การเปรียบเทียบการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำแนกตามตำแหน่งและจำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ทำงาน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
3. ข้อเสนอแนะการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 พบว่า ด้านหลักนิติธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาต้องบริหารงานตามกฎหมาย และมีการส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย ด้านหลักคุณธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ด้านหลักความโปร่งใส ผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติงาน สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ผู้บริหารสถานศึกษาให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ด้านหลักความรับผิดชอบ ผู้บริหารสถานศึกษามอบหมายงานให้ตรงกับความรู้ ความสามารถ ด้านหลักความคุ้มค่า ผู้บริหารสถานศึกษา ควรพัฒนาและแก้ปัญหาในสถานศึกษา โดยยึดประโยชน์ส่วนรวมและนำทรัพยากรที่มีอยู่ในสถานศึกษามาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด


 

Article Details

How to Cite
จันทรส น. . (2023). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. วารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(2), 37 – 49. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JBIR/article/view/266152 (Original work published 27 สิงหาคม 2023)
บท
บทความวิจัย

References

หนังสือ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good governance rating). กรุงเทพมหานคร: พรีเมียร์ โปร.

วารสาร

ขจรศักดิ์ ว่องไว. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2562; 1(1): 140-147.

ยุทธนา อิศรางกูร ณ อยุธยา. การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 2557; 1(1); 55-57.

วิทยานิพนธ์

จุฑามาส นาคปฐม. (2559). การบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญาวัดใหญ่อินทาราม เทศบาลเมืองชลบุรี. ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิไลรัตน์ ฝ่ายดี. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลางในอำเภอตาพระยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาษาอังกฤษ

(I) Books:

Blumel, C. M. Foreign Aid. (2000. Donor Coordination and the Pursuit of Good Governance (Kenya).

Maryland : University of Maryland.Clarke, V. B. (2001). Unit Search of Good Governance:Decentralization and Democracyin Ghana.

Illinois : Northern Illinois University.

Hendrick, J.T. (2005). Donors and Good Governance : Analysis of a policy discourse in the Netherlands and Germany. Ph.D. Dissertation. Netherlands : Universities Twente.

Krejcie. R.V. and Morgan. D.W. (1970). Educational and Psychological Measurement. New York : Stag.

Marcella, C.C.(2005). Educational governance of the Morongo unified school district. Doctoral dissertation, Capella University.

Millan, M.C. and Leah, K. (2007). A misguided curriculum : Decentralized education policy in Ghana’s primary school system. Canada : Saint Mary’s University.

Phillip, K. (2005). The Politics of Good Governance in the Asian 4. Master Thesis, Australia Griffith University.