รูปแบบความร่วมมือวิถีพุทธของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววัดป่า ในจังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความร่วมมือวิถีพุทธของชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยววัดป่า 2) วิเคราะห์แนวทางสร้างความร่วมมือวิถีพุทธของชุมชมในการส่งเสริมการท่องเที่ยววัดป่า 3) เสนอรูปแบบความร่วมมือวิถีพุทธของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววัดป่าในจังหวัดอุบลราชธานี โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกันในการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า
1)รูปแบบความร่วมมือวิถีพุทธนั้นใช้หลักการบริหารชุมชนด้วยหลักอปริหานิยธรรม 7 ประการ มาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยววัดป่าด้วยการสร้างสิ่งดึงดูดการท่องเที่ยวตามกรอบแห่งหลักสัปปายะ 7 มาใช้ในการจัดการด้วยมีความสอดคล้องตามแนวคิดทฤษฎี 5A เป็นสำคัญ รวมทั้งการมีข้อมูลของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่มีต่อศักยภาพวัดป่าที่ทำให้เห็นว่าวัดป่านั้นมีศักยภาพสำคัญคือด้านอากาศที่ดี สภาพแวดล้อมที่ดี (อุตุสัปปายะ) มีพักอาศัย (อาวาสสัปปายะ) ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 3.68, S.D.=0.40) ส่วนศักยภาพที่ควรพัฒนาและปรับปรุงส่งเสริมให้ดีขึ้นต่อไปคือ ด้านการเดินทาง (โคจรสัปปายะ) ที่ยังมีค่าเฉลี่ยที่เป็นลำดับสุดท้ายในการประเมิน ( = 3.65, S.D.=0.37)
2) ส่วนระดับความร่วมมือวิถีพุทธของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววัดป่าในจังหวัดอุบลราชธานี (อปริหานิยธรรม 7) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.20, S.D.=0.05) ส่วนค่าเฉลี่ยรายด้านพบว่า มากที่สุดคือด้านความร่วมมือประชุมกับวัดป่ามากสุด ( = 3.48, S.D.= 0.13) และลำดับสุดท้ายคือด้านการปฏิบัติให้ความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน ( = 2.77, S.D.=0.07) เมื่อนำข้อมูลทั้งสองส่วนมาวิเคราะห์โดยอาศัยเทคนิค SWOT Analysis ก็สามารถกำหนดนโยบายในการแก้ไขจุดอ่อนในแต่ละวัดได้เป็นอย่างดี
3)การเสนอรูปแบบความร่วมมือวิถีพุทธของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววัดป่าในจังหวัดอุบลราชธานี ชุมชนวิถีพุทธจะต้องยึดการดำเนินปฏิบัติตามหลักอปริหานิยธรรม 7 เริ่มจากการรวมตัวประชุมพูดคุยเสนอแสดงแนวทางการส่งเสริมวัดป่าในเรื่องต่างๆ ผ่านกิจกรรมพิธีกรรม ทางพุทธศาสนาเป็นสำคัญ อีกทั้งยังอาศัยฐาน ศรัทธา ความเชื่อมั่นพระสงฆ์ ด้วยการร่วมมือสร้างสิ่งสร้างสรรสิ่งดึงดูดในวัดป่าตามกรอบแห่งสัปปายะ 7 เป็นสำคัญ และไม่สร้างสรรค์สิ่งดึงดูดอื่นนอกจากหลักการทางพุทธศาสนา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เรื่องลิขสิทธิ์/เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน
References
หนังสือ
จุฑาภรณ์ หินซุย. (2551). การศึกษาเรื่องแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงพุทธ กรณีศึกษาวัดประชาคมวนาราม อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. บัณทิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภัทร์สุภา ลีลานภาพรรณ์. (2551). การท่องเที่ยวเชิงพุทธ: กรณีศึกษาแหล่งวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพุทธศาสน์ศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พฤฒ เอมมานูเอล ใบระหมาน. (2552). การสร้างความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้าแรงงานทาสบนเรือประมง. ภาคนิพนธ์ รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์. บัณฑิต: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระสมหมาย อตฺถสิทฺโธ (พืชสิงห์). (2559). รูปแบบการนำหลักอปริหานิยธรรมไปใช้ในการบริหารของผู้บริหารสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รายงานวิจัย:
เกษสุดา งามขวา.(2543). พระธาตุดุม:แนวทางการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม เพื่อส่งเสริมการ ท่องเที่ยว. รายงานการวิจัยหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม. ข้อมูลหายไป
วสันต์ เทพสุริยานนท์. (2552). ชุมชนร่วมรัฐ: กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมบ้านหมอสอ จังหวัดกาญจนบุรี. รายงานการวิจัยเสนอต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. เครือข่ายมรดกศิลปะวัฒนธรรมบ้านหมอสอ องค์การบริหารส่วนตำบลพระแท่น สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี.
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีสถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2563 (Tourism Statistics 2020)[ออนไลน์]. (วันที่สืบค้น 29 กุมภาพันธ์ 2565). แหล่งที่มา : https://mots.go.th/more_news_new.php?cid=592.