ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาท เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในช่วงที่ประเทศไทยเกิดวิกฤต การระบาดของไวรัสโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในช่วงเกิดวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยกลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือข้อมูลทุติยภูมิของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทต่อเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาและปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องในการประมาณแบบจำลองตามแนวคิดของแบบจำลอง Mundell Fleming ซึ่งจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลขององค์กรทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา รวมถึงองค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 จำนวน 47 เดือน และวิเคราะห์ผลวิจัยด้วยสมการถดถอยเชิงซ้อน (OLS)
ผลการวิจัยพบว่า การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในช่วงเกิดวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยค่าเงินบาทในช่วงการเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 จะแข็งค่าขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ และจะเสื่อมค่าลงจากการที่ประเทศไทยก่อหนี้สาธารณะ การเพิ่มขึ้นของส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา การเพิ่มขึ้นของอัตราการตายของผู้ป่วยจากไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย และเปลี่ยนแปลงไปตามค่าเงินในช่วงเวลาอดีต 1 ช่วงเวลา โดยตัวแปรอิสระทั้งหมดในแบบจำลองสามารถอธิบายอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในช่วงที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ประมาณร้อยละ 95 (R2 = 0.95, p < 0.01) ดังนั้นในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทผู้มีอำนาจในการดำเนินนโยบายจึงต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางเศรษฐกิจของไทยและสหรัฐฯ ไปพร้อมกัน รวมถึงการบริหารความเสี่ยงวิกฤตในทุกๆ มิติ โดยเฉพาะวิกฤตด้านสาธารณสุขที่ส่งผลต่อเนื่องไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงเหมือนการการระบาดของไวรัสโควิด-19
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เรื่องลิขสิทธิ์/เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน
References
หนังสือ
เกษร หอมขจร. (2556). ทฤษฎีการเงินระหว่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วารสาร
Baljinnyam, B., & Lu, D. H. (2019). Analysis on influencing factors of the exchange rate between Chinese Yuan (CNY) and Mongolian Tögrög (MNT). International Journal of Development and Sustainability, 2 (3), 1636-1644.
Banda, F., and Edriss, A. (2023). How Did Covid-19 Affect the structural relationship between exchange rates and money supply? evidence from Malawi. International Journal of Economics and Financial, 13 (1), 199-205.
Bouraouia, T., & Phisuthtiwatcharavongb, A. (2018). On the determinants of the THB/USD exchange rate. Procedia Economics and Finance, 30 (2), 137–145.
Diao, Y. (2023). Empirical analysis of factors influencing RMB exchange rate volatility in the context of RMB internationalization. Frontiers in Business, Economics and Management, 11 (3), 23-33.
Gongkhonkwa, G. (2021). COVID-19 Pandemic: Impact on Thai Baht Exchange Rate. Journal of Asian Finance, Economics and Business, 8 (7), 121–127.
Jamal, A., and Bhat, B. (2022). COVID-19 pandemic and the exchange rate movements: evidence from six major COVID-19 hot spots. Jamal and Bhat Future Business Journal, 8 (1), 1-11.
Parveen, S., Khan, A. Q., & Ismail, M. (2018). Analysis of the factors affecting exchange rate variability in Pakistan. Academic Research International, 2 (3), 670-675.
Parveen, S., Khan, A. Q., & Ismail, M. (2018). Analysis of the factors affecting exchange rate variability in Pakistan. Academic Research International, 2 (3), 670-675.
Patosa, J. B., & Cruz, A. T. (2017). Factors affecting exchange rate movements in selected Asian countries. International Journal of Research in Economics and Social Sciences, 5 (3), 1-17.
หนังสือภาษาต่างประเทศ
Flodén, M. (2020). The open economy revisited: The Mundell-Fleming model and the exchange-rate regime. Stockholm: Stockholm School of Economics.
Husted, S., & Melvin, M. (2020). International economics. (9th ed.). Boston: Addison Wesley Longman.
Islam, M. Z., & Raza, H. (2019). An empirical study on the Factors affecting Foreign exchange markets of Pakistan. International Affairs and Global Strategy, 24, 11-21.
Pilbeam, K. (2020). International finance. (9th ed. London: Addison Wesley Longman.Ruan, S. (2019). Determinants of Chinese RMB exchange rate. Unpublished Master’s thesis, Assumption University, Bangkok.
Yong, C. & Ling, O. W. (2000). PPP and the monetary model of exchange-rate determination: The case of Singapore. Nanyang: Nanyang Business School. Nanyang ; Techno-logical University.