การเปรียบเทียบความแตกต่างของศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์

Main Article Content

รุ่งโรจน์ เย็นชัยพฤกษ์
พราวธีมา ศรีระทุ
พรภัทร อินทรวรพัฒน์
มงคล เทียมถนอม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อศึกษาศักยภาพการบริหารจัดการของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี และ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลส่วนบุคคลของประชากรในจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีต่อศักยภาพการบริหารจัดการของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทำการศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย บุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต นักศึกษา ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวิเคราะห์สถิติค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพการบริหารจัดการของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับมากทุกด้าน ประกอบด้วย
1) ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรและแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 2) ด้านการกำหนดแผนบริหารจัดการพื้นที่อย่างเป็นระบบ 3) ด้านการจัดการด้านความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว 4) ด้านการจัดการของเสียในแหล่งท่องเที่ยว 5) ด้านการยอมรับและความร่วมมือกับชุมชนโดยรอบ 6) ด้านการสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว 7) ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8) ด้านการบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคและทรัพยากรการท่องเที่ยว 9) ด้านการส่งเสริมการขาย เพิ่มมูลค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และ 10) ด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของแหล่งท่องเที่ยว  และข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดสุพรรณบุรีแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพการบริหารจัดการของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ยกเว้น ตัวแปรด้านรายได้ ที่ไม่พบความแตกต่าง

Article Details

How to Cite
เย็นชัยพฤกษ์ ร. . ., ศรีระทุ พ. ., อินทรวรพัฒน์ พ. ., & เทียมถนอม ม. . . (2025). การเปรียบเทียบความแตกต่างของศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของหอมขจรฟาร์ม จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์. วารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(1), 15–27. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JBIR/article/view/274166
บท
บทความวิจัย

References

Books:

Associate Professor Dr. Pathan Suwanmongkol. (2015). Public administration and the creation of good governance. Bangkok:

Kaenchan Printing Company Limited.

Coolican, H. (2004). Research methods and statistics in psychology (4th ed.). Bookpoint. Tourism PromotionOrganization Development. Office Ministry of Tourism and Sports. (n.d).

Manual Evaluate quality standards of agricultural tourism destinations. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports.

Journal:

Krejcie, R. V., & Morgan D. W. (1970). Determining Sample Size of Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30, (3). 607-610.

Electronic medias:

National Statistical Office. (2021). Population numbers from registration, classified by age, gender, region and province, 2021.(Retrieved 12 February 2023). http://statbbi.nso.go.th.

Nuchprawee Likhitarun et al. (2019). Potential of Tourist Attractions in Phichit Province. Journal of Service and Thai Tourism. (Retrieved 28 September 2023). https://so03.tci-thaijo.org/index.

Tasanee Naksenee and Kesara Sukphet. (2016). Behavior of Thai Tourists. in Tourist Attractions Agriculture in the Lower Central Region of Thailand. Academic Journal of Kanchanaburi Rajabhat University. (Retrieved 26 September 2023). https://rdi.kru.ac.th.

Saengchai Apichatthanaphat. (n.d.). Principles of Good Governance in Organizational Management. (Retrieved 2 October 2023). www.constitutionalcourt.or.th.

Sentangsedtee Online. (2018). Homkhajorn Farm a New Type of Agricultural Area When “Suan Dusit” is more than a “University”. (Retrieved 28 September 2023). www.sentangsedtee.com.

UNDP. “GOVERNANCE”. Fron; www :mirror.undp.org. (Retrieved 4 December 2024)