แนวทางการพูดเชิงพุทธจิตวิทยาเพื่อพัฒนาความเข้าใจผู้สูงอายุต่อภาวะซึมเศร้า

Main Article Content

กิตติยา น้าเจริญสิงห์
ธเนศ ปานหัวไผ่
บารมี อริยะเลิศเมตตา

บทคัดย่อ

บทความการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาแนวทางการพูดเชิงพุทธจิตวิทยา 2)เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ 3)เพื่อประยุกต์แนวทางการพูดเชิงพุทธจิตวิทยามาพัฒนาความเข้าใจผู้สูงอายุต่อภาวะซึมเศร้า รวมถึงผู้ดูแลหรือบุคคลใกล้ชิดสามารถนำแนวทางเชิงพุทธจิตวิทยามาปรับใช้กับชีวิตจริงในปัจจุบันได้ งานวิจัยนี้ได้ที่การใช้หลักพุทธจิตวิทยาเพื่อช่วยพัฒนาความรู้ความเข้าใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า เนื่องจากปัญหานี้เป็นเรื่องสำคัญและในกลุ่มผู้สูงอายุ การที่ผู้ดูแลหรือผู้ใกล้ชิดสามารถใช้หลักพุทธจิตวิทยาอย่างเหมาะสม จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและการสนับสนุนทางจิตใจที่จำเป็นต่อการจัดการกับอารมณ์เศร้าของผู้สูงอายุ โดยการวิจัยนี้ใช้การเก็บข้อมูลจากเอกสารเป็นหลัก เช่น พระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับหลักพุทธจิตวิทยาและการเยียวยาทางจิตใจ ประกอบกับใช้เอกสารทุติยภูมิ เช่น บทความวิชาการ งานวิจัย และหนังสือที่เกี่ยวกับการศึกษาเรื่องภาวะซึมเศร้าและพุทธจิตวิทยา


                  ผลการศึกษาพบว่า 1) การเข้าใจกระบวนการทำงานของจิตจะช่วยเสริมสร้างการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มจากการฝึกสติการควบคุมอารมณ์ พิจารณาเลือกใช้คำพูดที่เหมาะสม ลดการตอบสนองเมื่อมีความขุ่นเคืองและจบการสนทนาด้วยความรู้สึกที่ดีเพื่อเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี ผลลัพธ์ที่ได้คือการสื่อสารที่สร้างสรรค์ ลดความขัดแย้ง และสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกในระยะยาว 2) ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้าเนื่องจากการเสื่อมถอยของร่างกาย การสูญเสียคนใกล้ชิดและโดดเดี่ยว ส่งผลให้ผู้สูงอายุอาจแสดงออกด้วยอาการทางกาย เช่น อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย นอกจากนี้ ผู้ดูแลควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่อาจกระทบจิตใจ และส่งเสริมผู้สูงอายุให้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย แม้ว่าภาวะซึมเศร้าจะมีความซับซ้อน แต่หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ก็มีโอกาสหายขาดสูง 3) การนำหลักพุทธจิตวิทยาเพื่อมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพูดกับผู้สูงอายุด้วยคำพูดที่อ่อนโยนและมีความเมตตาตามแนวทางพุทธจิตวิทยา สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุรับรู้ถึงความใส่ใจและได้รับการสนับสนุนจากคนรอบข้าง ทำให้ผู้สูงอายุมีความมั่นใจในการรับมือกับอารมณ์ซึมเศร้าและปัญหาที่ประสบ นอกจากนี้ การใช้แนวทางพุทธจิตวิทยายังส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีความเข้าใจในภาวะซึมเศร้าอย่างลึกซึ้ง ทำให้สามารถจัดการปัญหาได้อย่างมีสติและไม่ใช้อารมณ์ ส่งผลให้การสนับสนุนผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข้อดีที่เกิดขึ้นคือผู้สูงอายุจะรู้สึกมั่นคงทางอารมณ์และลดความรู้สึกโดดเดี่ยว ทั้งยังเปิดใจรับการดูแลและมีกำลังใจที่จะปรับตัวหรือฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ดูแลและผู้สูงอายุ ลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การนำแนวทางพุทธจิตวิทยามาใช้ในชีวิตจริงอาจมีข้อท้าทาย เช่น ผู้ดูแลจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักการ ซึ่งอาจต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้หรือปรับตัว แต่หากสามารถทำได้อย่างเหมาะสม ผลลัพธ์ที่ได้จะช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งต่อผู้สูงอายุและผู้ดูแลในระยะยาว. 

Article Details

How to Cite
น้าเจริญสิงห์ ก., ปานหัวไผ่ ธ. ., & อริยะเลิศเมตตา บ. . (2025). แนวทางการพูดเชิงพุทธจิตวิทยาเพื่อพัฒนาความเข้าใจผู้สูงอายุต่อภาวะซึมเศร้า. วารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/JBIR/article/view/277259
บท
บทความวิจัย

References

Books:

Bertrand L. (1958). Rural Sociology. New : Mc Graw-Hill.

Kor Sawatphanit. (1976). Family Relations. Bangkok: Thaiwattanapanich.

Mahachulalongkornrajavidyalaya. (1996). Thai Tripitaka. Bangkok: MCU Press.

Narong Sengpracha. (1998). Man and Society. 4th edition. Bangkok: O.S. Printing House.

Ngamphit Satsa-nguan. (2002). Family Institute of Ethnic Groups in Bangkok: A Case Study of the thai Song Family. Bangkok: Chulalongkorn University.

Ngamphit Satsa-nguan. (2002). Family Institute of Ethnic Groups in Bangkok: A Case Study of the thai Song Family. Bangkok: Chulalongkorn University.

National Women's Promotion and Coordination Committee (WOMEN's Promotion and Coordination Committee). (1998). Office of the Permanent Secretary, Office of the

Prime Minister, Policy and Plan for the Development of Family Institutions. Bangkok: Office of the Women's Promotion and Coordination Committee (Women's Promotion and Coordination Committee (WMO).

Niyom Bunmee. (1987). Lifestyle Problems. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Narong Sengpracha. (1998). Man and Society. 4th edition. Bangkok: O.S. Printing House.

Supattra Suphap. (1999). Sociology. 21st edition. Bangkok: Thaiwattanapanich.

Sasipat Yodphet. (1997). Family Institute from the Perspective of Social Welfare Professionals. Bangkok: J. PRINT.

Suwit Rungvisai. (1983). Social Problems. Chiang Mai: Duangtawan Printing.

Suwit Rungvisai. (1989). Social Bonds. Chiang Mai: Department of Sociology and Anthropology Chiang Mai University.

Thesis :

Krabi Cholawit. (2000). Quality Family in the View of Thai Military Bank Employees in Bangkok. Master of Social Work. Thesis. Graduate School: Thammasat University.

Weeraphon Yai-arun. (1999). Factors affecting police family violence Study only the case of non-commissioned police officers performing duties in the Metropolitan Police Station. Master of Social Work. Thesis Graduate School: Thammasat University.

Yosaporn Pattanakul. (1997). Study of perspectives on being a foster family: Studying only the case of families in Rangsit Community Housing. Village No. 2, Rangsit Subdistrict. Thanyaburi District, Pratum Thani Province. Master of Social Work .Thesis Graduate School: Thammasat University.