ตำรวจกับประเด็นการอุ้มหาย : แนวคิด ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการอุ้มหาย พบว่าเป็นแนวคิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐได้ทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้ายและกระทำให้บุคคลเป็นผู้สูญหายต่อผู้เสียหายหรือผู้ถูกทรมานในลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชนทั่วไป สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทรมานและทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 พบว่า มีอยู่ 3 ฐานความผิด ดังนี้ 1) ความผิดฐานกระทำทรมาน 2) ความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และ 3) ความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหาย ปัญหาและอุปสรรคของการอุ้มหายจากเจ้าหน้าที่รัฐ พบว่า 1) เกิดจากการกำหนดอัตราโทษที่ไม่เหมาะสมกับความผิดสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ 2) เกิดจากการขาดการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประชาชนให้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน 3) เกิดจากการเยียวยาผู้เสียหายจากการถูกซ้อมและทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมทั้งทางร่างกายและจิตใจล่าช้า และ 4) เกิดจากการขาดการสร้างภาคีเครือข่ายภาคประชาชนให้เป็นองค์กรตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ตั้งแต่ขั้นจับกุมและควบคุมตัว ตลอดจนชั้นพนักงานสอบสวนในลักษณะคู่ขนานกับองค์กรของรัฐ และ แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการอุ้มหายจากเจ้าหน้าที่รัฐ และหลักธรรม พบว่า 1) แนวทางในการสร้างภูมิต้านทานแก่ประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน พร้อมประยุกต์ใช้หลักเมตตา 2) แนวทางในการเยียวยาผู้เสียหายจากการถูกซ้อมและทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมทั้งทางร่างกายและจิตใจล่าช้า พร้อมประยุกต์ใช้หลักกรุณา และ 3) แนวทางในการสร้างภาคีเครือข่ายภาคประชาชนให้เป็นองค์กรตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ตั้งแต่ขั้นจับกุมและควบคุมตัว ตลอดจนชั้นพนักงานสอบสวนคู่ขนานกับองค์กรของรัฐ พร้อมประยุกต์ใช้หลักอวิหิงสา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เรื่องลิขสิทธิ์/เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน
References
Books:
Faculty of Law, Thammasat University. (2023). Diverse and Easy-to-Understand Legal ledge Series 17: The Act on Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance B.E. 2565 : Guidelines for Interpretation and Enforcement. Bangkok:
Thammasat University Press.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2539). Mahachulalongkornrajavidyalaya Tripitaka. Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing House.
Namthae Meeboonsawad. (2023). Explanation of the Law on the Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance. Bangkok: Winyuchon Publishing.
Journal:
Wirat Natipwet. (2020). “Draft Act for the Prevention and Suppression of Torture and Persons Disappearance. (People's Edition) : Study only the structure of criminal responsibility in the case of Crime of causing the disappearance of a person” Library Journal Thaksin
University. July 9 (13); 120.
Royal Gazette:
Office of the Council of State. (2022). Act on prevention and suppression of torture and Disappeared Persons Act 2022. (25 October 2022). Royal Gazette. Volume 139, Chapter 66 A.
electronic media:
Forced disappearance of Somchai Neelapaijit : Atrocities in the name of the law and the justice process, online. www.pridi.or.th/th/content. (Retrieved on 10 August 2024)
Enforced disappearance of individuals. (Online). www.amnesty.or.th. (Retrieved on August 10, 2024)
Be aware... The Act on Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance B.E. 2565 (2022). (Online). www.amnesty.or.th. (Retrieved on August 10, 2024)
Revealing the story behind the "Billy" case, recording memories Lawyer-Journalist. (online). www.thaipbs.or.th. (Retrieved 10 August 2024)
Closing the case of "Uncle Piak", ordering charges against 9 Aranyaprathet police officers. (online). www.thaipbs.or.th. (Retrieved 10 August 2024)