ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อความต้องการด้านสมรรถนะบัณฑิต ในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อความต้องการด้านสมรรถนะบัณฑิตในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนาโดยมีกรอบแนวคิดที่ศึกษา 4 ด้าน คือ 1) สมรรถนะด้านความรู้ 2) ด้านเจตคติ 3)ด้านทักษะและ 4) ด้านจริยธรรม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ ศิษย์ปัจจุบัน จำนวน 6 คน ศิษย์เก่า จำนวน 2 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน และผู้อำนวยการโรงเรียน/วิทยาลัยและครู จำนวน 4 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กลุ่มและการประชุมสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะด้านความรู้ นักศึกษาจะต้องมีความรู้ด้านศาสตร์การสอน หลักการบริหารจัดการชั้นเรียน เข้าใจจิตวิทยาผู้เรียนและการประยุกต์ใช้ มีความรู้ด้านการวิจัย รู้จักวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรและเป็นผู้ติดตามองค์ความรู้ทางการศึกษาอยู่เสมอ 2) สมรรถนะด้านเจตคติ นักศึกษาจะต้องมีแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ มีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองทั้งทักษะวิชาการและทักษะชีวิต มีความรักและศรัทธาในอาชีพครู ผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นครูไว้สูงสุด 3) สมรรถนะด้านทักษะ นักศึกษาจะต้องมีทักษะการสื่อสาร มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายดึงดูดความสนใจของนักเรียน ควบคุมชั้นเรียนได้ ประยุกต์สื่อเทคโนโลยีไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม 4) สมรรถนะด้านจริยธรรม นักศึกษาจะต้องมีจิตอาสา มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา ประพฤติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูและกฎระเบียบของโรงเรียน เป็นแบบอย่างให้กับนักเรียนและวางตัวเป็นกลาง ไม่มีอคติต่อผู้เรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญคดา อนุวงศ์ และคณะ. (2565). ความเข้าใจของผู้ประเมินคุณภาพภายในต่อสาระของเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน(AUN-QA) ระดับหลักสูตร. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 14(28), 28-35.
ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2563. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566, จาก https://edu.kpru.ac.th/ap/e-dms/?nu=downloads&id=705&type=pdf
ชัษษพณขิ์ จันวงค์เดือน และวริญรดา บรรหาร. (2565). หลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรฐานสมรรถนะ. วารสารครุทรรศน์ (ออนไลน์) วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2(2), 89-102.
ฐกร พฤฒิปูรณี และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2565). การพัฒนาสมรรถนะครูในช่วงยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). วารสารวิจยวิชาการ, 5(6), 87-98.
ฐิติมา ญาณะวงษา และคณะ. (2564). หลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์: แนวทางใหม่สำหรับหลักสูตรอุดมศึกษา. วาสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 279-291.
ธนกฤต อั้งน้อย และอนุชา กอนพ่วง. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(2), 169-180.
ปาริชาติ บัวเจริญ และ ประภัสสร สมสถาน. (2565). แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร. วารสารปัญญา, 29(3), 141-155.
รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล และคณะ. (2566). การวิจัยและพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องตามความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(1), 195-209.
วรรณภัทรพร สิริโพธิ์แก้ว, สมประสงค์ เสนารัตน์ และ ธนกร ดรกมลกานต์. (2565). การเปรียบเทียบเกณฑ์การประกันภายในเข้าสู่เกณฑ์การประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน. Journal of Modern Learning Development, 7(7), 474-489.
วิษณุ บัวเทศ. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 21 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 22(ฉบับพิเศษ), 105-113.
สมชาย เทพแสง, กันต์ฐมณีญา นฤโฆษกิตติกีรติ และอัจฉริยา เทพแสง. (2566). การศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ Outcome-based Education(OBE): กุญแจสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นนักเรียนเป็นหลัก. วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา, 2(1), 39-52.
สิทธิชัย แสงอาทิตย์. (2563). ประสบการณ์การใช้เกณฑ์การประเมินเพื่อรับรองหลักสูตรตามแนวทาง ABET และ AUN-QA. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 วันที่ 15-17 กรกฎาคม 2563, CEE01-1-CEE1-9.
สุทธิพรรณ ธีรพงศ์ และคณะ. (2564). ความคาดหวังและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา. Journal of Early Childhood Education Management (ECEM), 3(2), 1-10.
สุวัทนา สงวนรัตน์ และชวน ภารังกูล. (2564). หลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะในสถานศึกษา. วารสารสิริธรปริทรรศน์, 22(2), 351-364.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). กรอบสมรรถนะครูเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: ออนป้า.
สมชาย เบ็ญจวรรณ์, ชลิศา รัตรสาร และอดิศักดิ์ ลำดวน. (2565). กัลยาณมิตรธรรม: หลักการสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอน. วารสารพิกุล, 20(1), 189-206.
ศิรภัสสร์ อินทรพาณิชย์ และอดุลย์ สนั่นเอื้อเม็งไธสง. (2566). วิเคราะห์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(2), 1073-1084.
Chaaban, Y., et al. (2023). Education Stakeholders’ Viewpoints about an ESD Competency Framework: Q Methodology Research.
Retrieved November 15, 2023, from http://www.diva-portal.org/smash/get/diva2:1744746/ FULLTEXT01.pdf