ตัวแบบความร่วมมือของชุมชน หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน ในกระบวนการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบจากปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ศึกษากรณี ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ศิริมา บุญมาเลิศ
เอกอนงค์ ศรีสำอางค์
เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหน้าที่และกระบวนการจัดการของชุมชน หน่วยงานรัฐ และหน่วยงานเอกชน ในปัจจุบัน เกี่ยวกับการจัดการเพื่อป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ 2) เพื่อวิเคราะห์ความร่วมมือชุมชน หน่วยงานรัฐ และหน่วยงานเอกชน เกี่ยวกับการจัดการเพื่อป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ และ 3) เพื่อนำเสนอตัวแบบความร่วมมือของชุมชน หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน ในกระบวนการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบจากปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีใช้แนวคิด การมีส่วนร่วมของประชาชน การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและระหว่างหน่วยงานรัฐกับภาคส่วนอื่น เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากประชาชนเขตเทศบาลเมืองหัวหิน จํานวนทั้งสิ้น 398 คน คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 40 คน ข้อมูลที่ได้เชิงปริมาณทำการวิเคราะห์ โดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งการวิเคราะห์ One-way ANOVA ข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์แบบอุปนัย และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกและจัดระบบหมวดหมู่ข้อมูลผลการวิจัยพบว่า
1. เทศบาลตำบลหัวหินมีกระบวนการจัดการเกี่ยวกับการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่แบ่งเป็น 3 ระยะ มีการจัดการที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามสถานการณ์ และมีเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
2. ผู้นำชุมชน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ให้ความร่วมมือในการป้องกัน แก้ไขปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ พร้อมที่สนับสนุนการทำงานและระดมทรัพยากรในการดำเนินกิจกรรม แต่ยังขาดการส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมกับภาคีเครือข่ายทุกระดับ
3. การที่จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือของชุมชนจะต้องดำเนินการอย่างเป็นเป็นระบบ ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และปัจจัยผลผลิต (Output)
ผลการวิจัยจะเป็นตัวแบบการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ของตำบลหัวหินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในกระบวนการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบจากปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตนอกเหนือจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ปัญญาธร และคณะ. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค COVID-19 บ้านหนองสวรรค์ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 32(1), 189-204.

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ. (2558). สาระสำคัญของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2564, จาก http://164.115.41.179/dpc/sites/default/files/sites/default/files/sw/2Infographic_0.pdf

ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. (2563, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนที่ 69 ง. หน้า 10-16.

ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. (2564, 21 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 256 ง. หน้า 1-4.

งานจัดการความรู้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2021). นิยามศัพท์ KM บูรณาการ (Integration). สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2564, จาก https://www2.si.mahidol.ac.th/km/ knowledgeassets/definition/1957/

จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ และคณะ. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการตอบสนองและเตรียมการของระบบบริการสุขภาพไทยต่อวิกฤติการระบาดของ COVID-19: การดำเนินการของโรงพยาบาล และผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมภายในขอบเขตของระบบสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และศูนย์บริการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดนุสรณ์ กาญจนวงศ์. (2560). การวางแผนพัฒนาชุมชนและการสร้างอัตลักษณ์ชุมชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

บวรศม ลีระพันธ์ และคณะ. (2563). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาแบบจำลองบูรณาการ ระบบการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ: ดีเซม เบอรี่.

ประกาศเรื่องการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี. (2563, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 69 ง. หน้า 2-3.

ประกาศเรื่องการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 3). (2563, 30 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 153 ง. หน้า 27-28.

ประกาศศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19 ) เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19. (2564, 8 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 123 ง. หน้า 17-18.

ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร. (2563, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 69 ง. หน้า 1.

วลัยพร พัชรนฤมล และคณะ. (2563). รายงานโครงการการพัฒนากรอบยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2564 – 2565). สืบค้น 23 ตุลาคม 2564, จาก https://www.opdc.go.th/content/NzExMw

Arnstein, S. R. (1969). A Ladder of Citizen Participation. Journal of the American Planning Association, 35(4), 216-224.

Gilmore B, et al. (2020). Community Engagement for COVID-19 Prevention and Control: A Rapid Evidence Synthesis. Retrived October 22, 2021, from https://gh.bmj.com/content/ bmjgh/5/10/e003188.full.pdf

Huda Al Siyabi, et al. (2021). Community Participation Approaches for Effective National COVID-19 Pandemic Preparedness and Response: An Experience from Oman. Frontiers in Public Health Journal, (8), 1-8.

The Secretariat for the Independent Panel for Pandemic Preparedness and Response. (2021). Centering Communities in Pandemic Preparedness and Response. Retrived October 22, 2021, from https://theindependentpanel.org/wp content/uploads/2021/05/Background-paper-10-community-involvement.pdf