การบูรณาการพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

วิลาสินี แสนวัง
ณรงค์เดช รัตนานนท์เสถียร
สุนิสา ละวรรณวงษ์

บทคัดย่อ

พระบรมราโชบายด้านการศึกษาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางหนึ่งที่ครูสามารถนำมาบูรณาการสู่การจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งอยู่ในช่วงวัยที่พร้อมจะเรียนรู้เพื่อก้าวสู่สังคมภายนอก


ทั้งนี้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูต้องวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน และมีความเข้าใจในแนวทางเดียวกัน โดยมีหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการนำพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษาไปใช้ในชั้นเรียน อีกทั้งมีรูปแบบหรือกระบวนการที่พัฒนาขึ้นเป็นตัวขับเคลื่อนให้การบูรณาการพระบรมราโชบายด้านการศึกษาประสบความสำเร็จ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตในสังคมไปพร้อมกับความรู้ทางวิชาการ


บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการบูรณาการพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และนำเสนอกระบวนการขับเคลื่อน การบูรณาการพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้รูปแบบ Royal Policy to Learning Model ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ทบทวนประสบการณ์ (Review) 2) บูรณาการพระบรมราโชบาย (Integration) 3) เชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติ (Link) 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share)
5) ตระหนักคุณค่า (value) และ 6) สรุปความคิดรวบยอด (Conclude) เพื่อให้การบูรณาการ พระบรมราโชบายด้านการศึกษาเป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน และเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กัญญาณัฐิกานต์ อารีรมย์. (29 เมษายน 2563). พระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2566, จาก https://www.chan1.net/story/186

กระทรวงศึกษาธิการ (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

กรัณย์พล วิวรรธมงคล. (2564). การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้บูรณาการ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2565). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรชพรรณ ชาญช่าง. (2563). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง: การเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(3), 78-89.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. (10 กรกฎาคม 2562). พัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละช่วงวัยทั้งด้านร่างกาย เชาวน์ปัญญา สังคม และอารมณ์. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566, จาก https://edutech14.blogspot.com/ 2014/11/blog-post_74.html

ฝนพรม พุทธนา. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพบูลย์ สุขวิจิตร บาร์, วิลาสินี ดาราฉาย และสุทธิชา เพชรวีระ. (2564). หนังสือประมวลบทความการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ออนไลน์ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2564, พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วรัญญา เสนสม. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ประโยคเพื่อการสื่อสาร วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชันประถมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.