แนวทางการจัดกิจกรรมภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

วาสนา เอี่ยมจริง
สุนิสา ละวรรณวงษ์
จิตณรงค์ เอี่ยมสำอาง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4P มีขั้นตอน ได้แก่ 1) เตรียมพร้อมความรู้ (Preparing) 2) นำเข้าสู่เนื้อหา (Presentation) 3) ฝึกสื่อสารภาษา (Practicing) และ 4) นำไปใช้สนทนาตามสถานการณ์ (Production) การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์เป็นฐาน สามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้เรียนจากการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์ที่เสมือนจริง ผู้เรียนเห็นความเชื่อมโยงของการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ผลที่ได้จากการจัดการเรียนรู้นี้ยังช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสาร ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในการเข้าสู่โลกการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ผู้สอนปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ (Facilitator) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการใช้ภาษาผ่านสถานการณ์เสมือนจริง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน และยังเป็นวิถีทางที่จะส่งเสริมทำให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว

กฤษณพงษ์ เลิศบำรุงชัย. (2562). พีระมิดแห่งการเรียนรู้ (Cone of Learning). สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2567, จาก https://touchpoint.in.th/cone-of-learning/

จรรยา ดาสา. (2552). 15 เทคนิคในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนเชิงรุก. นิตยสาร สสวท.

ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ. (2552). การเรียนเชิงรุก (Active Learning). สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566, จาก http://pirun.ku.ac.th

สุจริต เพียรชอบ. (2531). การพัฒนาการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดคะนึง นฤพนธ์จิรกุล. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวการเรียนรู้จากสถานการณ์เสมือนจริงเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษาอังกฤษ และการรับรู้ความสามารถของตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Errington, E.P. (2010). Preparing graduates for the professions using scenario-based learning. Brisbane: Post Pressed.

Felder, R. M. and Brent, R. (2009). Active Learning. Retrieved October 2, 2023, from http://www4.ncsu.edu/unity/lockers/users/f/felder/bublic/Papers/ALpaper (ASQ).pdf

Georgopoulos, V. C., Chouliara, S., & Stylios, C. D. (2014). Fuzzy cognitive map scenario based medical decision support systems for education. Paper presented at the 2014 36th Annual International Conference of the IEEE Engineering in Medicine and Biology Society.

Kirshner, D., & Whitson, J. A. (1997). Situated cognition: Social, semiotic, and psychological perspectives. New York: Psychology Press.

Lankard, B. A. (1993). Integrating academic and vocational education: Strategies for implementation. PUB DATE CONTRACT, 53.

Ruth Clark. (2009). Accelerating Expertise With Scenario-Based Learning. Learning Blueprint. Merrifield, VA: American Society for Teaching and Development.