การพัฒนาชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาขึ้น และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงวัยที่ได้รับใช้ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่าง คือ ผู้สูงวัยในตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบวิเคราะห์เอกสาร 3) แบบตรวจสอบความเหมาะสม 4) ชุดกิจกรรมและคู่มือการใช้ชุดกิจกรรม 5) แบบประเมินคุณภาพชีวิต 6) แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ และ7) ประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 6 ส่วนคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กิจกรรม 3 กิจกรรม ได้แก่ (1) กิจกรรมเพื่อร่างกายแข็งแรง (2) กิจกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ (3) กิจกรรมยามว่างเพื่อสุขภาพ 4) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5) การวัดและประเมินผล 6) ปัจจัยสนับสนุนและคู่มือใช้ชุดกิจกรรม มีค่าความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด
2. คุณภาพชีวิตผู้สูงวัยหลังการใช้ชุดกิจกรรมสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ
3. ผู้สูงวัยมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นโดยเห็นว่าชุดกิจกรรมมีความเหมาะสม เป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงวัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์สำหรับการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2565. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566,จาก https://www.shorturl.asia/jODIU
เกษรา โพธิ์เย็น. (2562). สังคมผู้สูงอายุ: โอกาสของธุรกิจที่ยั่งยืนในอนาคต. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1),201-208.
โกศล สอดส่อง. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 6(1), 162-175.
จันทนา สารแสง. (2561). คุณภาพชีวิตและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลทุ่งข้าวพวง อำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ชาตรี มณีโกศล. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็น ครู ด้านคุณธรรมจริยธรรม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ทักษิณาทิพย์ หมื่นไธสง. (2564). ปัจจัยพฤติกรรมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุใน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นวรัตน์ ไวชมภู และนูรรีย๊ะ ล่าเตะเกะ. (2562). ธุรกิจสุขภาพสู่สังคมผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย,9(3), 75-83.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอส.พริ้นติ้ง ไทย แฟคตอร์.
ประเสริฐ สำเภารอด. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมเรื่องระบบนิเวศในโรงเรียน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2546). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2547). จิตวิทยาเพื่อการฝึกอบรมผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Creswell and Clark. (2007). Design and Conduct Mixed Methods Research. Sage Publications.
Flanagan, J. (1978). A Research approach to improving our quality of life. American Psychologist,33 (2), 138-147.
Glickman, C. D., Stephen, P. G., and Others. (2010). Super vision and instructional leadership:A Developmental approach. 8th ed. Boston: Allyn and Bacon.
Goodyear and Allchin. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw-Hill.
Houston, R. W., and Other. (1972). Developing instruction modules. College of Education Taxas: University of Houston.
Kruse, K. (2004). Introduction to instructional design and the ADDIE model. Retrieved October 10, 2021,from http://www.E-learningguru.com/articles/art21.htm
Kapfer, P. & Mirian, K. (1972). Instructional to Leaning Package in American Education. New Jersey: Education Technology Publication, Enlewood Cliffs.
World Health Organization (WHO). (1997). Health and environment in sustainable development: Five Years after the Earth Summit. WHO, Geneva.