การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

Main Article Content

วราภรณ์ เพียรทอง
มิตภาณี พุ่มกล่อม
ณรงค์เดช รัตนานนท์เสถียร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 2) เปรียบเทียบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา แยกตามประสบการณ์ในการทำงาน เป็นวิจัยแบบผสมผสานวิธี เริ่มจากงานวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษา จำนวน 315 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามพื้นที่จัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วย วิธีของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านพบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการยกระดับความสามารถของผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการบริการ ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านการส่งเสริมสนับสนุนระบบการเรียนรู้แบบอิเล็กทรอนิกส์ และด้านการส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการศึกษา 2) การเปรียบเทียบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน ในภาพรวมมีการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการยกระดับความสามารถของผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยครูที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 5-10 ปี และครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 10  ปี มีการปฏิบัติมากกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 5 ปี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2557-2559). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จุฑามาศ กาญจนธรรม และเด่น ชะเนติยัง. (2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(1), 103-111.

ณัฐวุฒิ มีครองธรรม. (2558). บทบาทของผู้บริหารต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 2(การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ดาวประดับ เรืองศิริ. (2564). การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี และราชบุรี (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

เด่นชัย โพธิ์สว่าง. (2550). หลักการจัดการ-หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ทรงชัย โอฬาริกพงศ์ มนูญ ศิวารมย์ และรัชนิวรณ์รณ อนุตระกูลชัย. (2560). กลยุทธ์การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 64-80.

นธิยา ภัทรวังฟ้า. (2563). การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสุราษฏร์ธานี.

ลัดดาวัลย์ พัวพันวัฒนะ เฉลิมชัย หาญกล้า และภัสยกร เลาสวัสดิกุล. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 124-125.

วิมัลลี คำนุ. (2558). การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 7(2), 97-119.

สุกัญญา ฟักสกุล. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับสมรรถภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูโรงเรียนนาคประสิทธิ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 118.

สุติพงษ์ อมูลราช และถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข. (2558). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาของ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(1), 151-158.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/1.pdf

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแหงชาติ (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟค.

เอกราช เครือศรี. (2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizc for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.