กลวิธีในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ในพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ในพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในจังหวัดลำปาง รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือกลุ่มวัดและชุมชน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1) วัดในชุมชนปงสนุกเหนือ บ้านเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง 2) วัดในชุมชนไหล่หินหลวง บ้านไหล่หิน อำเภอเกาะคา และ 3) วัดในชุมชนบ้านหลุก บ้านนาครัว อำเภอแม่ทะ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ที่มีส่วนในการดูแลพิพิธภัณฑ์ ผู้ที่มีความรู้ด้านการพัฒนาพิพิธภัณฑ์วัดและชุมชนและ บุคคลที่มีส่วนในการบริหารจัดการภูมิปัญญาและวัฒนธรรมจำนวน 22 ราย ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 2) แบบการสนทนากลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท องค์ความรู้และข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ พบว่า กลวิธีในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ในพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย การค้นหาต้นกำเนิดของความรู้ในชุมชน การแยกแยะประเด็นสำคัญของความรู้ การจัดลำดับการนำเสนอความรู้เพื่อการกระจายความรู้สู่ชุมชน และการสร้างสื่อการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดความรู้ การพัฒนากลวิธีในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างตัวแทนชุมชนเพื่อสร้างทีมงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ ศึกษาอัตลักษณ์และความเป็นมาของชุมชน เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตามต้นทุนทางสังคมของชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2541). วิกฤตสังคมไทย 2540 กับบทบาทวิทยากรกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อจัดเวทีประชาคม. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤต.
จุฑามาศ แก้วพิจิตร. (2559). การศึกษากระบวนการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 8(1), 32-59.
บุรินทร์ เปล่งดีสกุล และภาคินี เปล่งดีสกุล. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ชุมชนรอบเขื่อนจุฬาภรณ์ กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูป ปลาน้ำจืด แม่สมศรี ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10 (2), 206-230.
ปนัดดา มนูรัษฎา และคณะ. (2556). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อจำหน่ายในร้านค้าพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (มิวเซียมสยาม). วารสารวิชาการ AJNU ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3(2), 56–76.
ปราโมทย์ เหลาะลาภ และกาญจนา เส็งผล. (2555). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์: พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 4(1), 36-49.
สมเกียรติ สุทธินรากร และคณะ. (2562). การสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการบริหาร จัดการของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 270-283.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2551). พิพิธภัณฑ์และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: กระบวนการเรียนรู้ ร่วมกัน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเล็กประไพขวิริยะพันธุ์.
ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2559). การพัฒนางานทัศนศิลป์ร่วมสมัยสู่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัฒนธรรม: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์. วารสารนิเทศศาสตร์, 34(1), 61-74.
อลงกรณ์ จุฑาเกต. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเรียนรู้ของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(3), 1113 - 1124.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988).The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia: Deakin University Press.
King, W. R., & Sethi, V. (1995). Introduction to business process reengineering. London: Prentice Hall.