ทักษะของครูแนะแนวและแนวทางในการรับมือ กับภาวะหมดไฟในการเรียนของนักเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาทักษะของครูแนะแนวในการรับมือกับภาวะหมดไฟในการเรียนของนักเรียน และ 2) ศึกษาแนวทางในการรับมือกับภาวะหมดไฟในการเรียนของนักเรียนภาวะหมดไฟในการเรียน จากการศึกษาพบว่า ภาวะหมดไฟในการเรียนเป็นผลมาจากความเครียดในการเรียน ทำให้เกิดการเหนื่่อยล้าทางร่างกายและอารมณ์ เมื่อไม่สามารถจัดการกับความเครียดจากการเรียนที่กำลังเผชิญอยู่ได้ ส่งผลให้บุคคลมีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน การทำงานหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไฟในการเรียน การหาแนวทางการป้องกัน แก้ไข หรือรับมือกับภาวะหมดไฟในการเรียนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญซึ่งครูแนะแนวจำเป็นต้องมีทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะการให้คำปรึกษา 2) ทักษะการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยา และ 3) ทักษะการจัดกิจกรรมแนะแนว ทักษะดังกล่าวจะช่วยให้ครูแนะแนวสามารถรับมือและป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟในการเรียนได้ สามารถจัดการกับภาระหมดไฟที่นักเรียนกำลังเผชิญอยู่ได้อย่างเหมาะสม และกลับมามีไฟในการเรียนได้อีกครั้ง ซึ่งครูแนะแนวควรใช้ทักษะดังกล่าวในการขับเคลื่อนแนวทางการรับมือกับภาวะหมดไฟในการเรียนของนักเรียนภาวะหมดไฟในการเรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 4 ระดับ ได้แก่
1) ลักษณะพื้นฐานของโรงเรียน 2) นโยบายของโรงเรียน 3) ระบบการให้ความช่วยเหลือ และ 4) การจัดกิจกรรมในชั้นเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ ศรีสองเมือง และภาสกร เตวิชพงศ์. (2559). อิทธิพลของความเครียดในการเรียนที่มีต่อภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : บทบาทการเป็นตัวแปรปรับของการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมจัดหางาน. (2565). วารสารสถานการณ์ตลาดแรงงานในปัจจุบัน ไตรมาสที่ 4 ปี 2565. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566, จาก https://www.doe.go.th/prd/download/download_by_pool_file/101088
กอเกษ ต่ายเกิดและคณะ. (2562). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะหมดไฟ (Burnout syndrome) ในนักศึกษาแพทย์ระดับชั้นพรีคลินิก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 19(2019), https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tmj/article/download/243874/165770/
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2565). คุยเรื่องทิศทางการศึกษาปี 65 กับ ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.eef.or.th/article-education-direction-2565/
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2566). สถานการณ์เด็กในวิกฤตหลุดจากระบบการศึกษา เสียงเงียบที่ต้องฟัง ทางออกที่มองเห็น. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.eef.or.th/infographic-210623/
ชัยพร พงษ์พิสันต์รัตน์ และภมรพรรณ ยูระยาตร์. (2562). การศึกษาองค์ประกอบของความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนิสิตระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 14(2), 99-110.
ราชัน ทวีคณะโชติ, อัจฉราพร เมทา และน้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. 2564. การพัฒนาแบบวัดความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารสวนสุดนันทาวิชาการและวิจัย,15(2), 10-118.
ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร. (2566). ภาวะหมดไฟ (Burnout syndromes). สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2567, จาก https://www.medparkhospital.com/lifestyles/burnout-syndrome
ธนวัฒน์ มณี และอารยา ผลธัญญา. (2565). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธารารัตน์ พรมสาร, ฐิติภรณ์ อรุณถิน และเบญจมาส มั่นอยู่. (2564). ภาวะหมดไฟทางการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 4 มหาวิทยายาลัยนเรศวร ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(3), 1-10.
ทัศนา พุทธประสาท. (2565). “Academic Burnout” เมื่อความร้าวรานของการหมดไฟไม่ได้เกิดแค่ในวัยทำงาน. TheMETTER. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2567, จาก https://thematter.co/social/acdemic-burnout-is-systematic/191502
นันทกา สุปรียาพร. (2566). สุขภาพจิตโรงเรียน: แนวทางการส่งเสริมสุขภาพจิตวัยรุ่น. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 51(1), 1-13.
บุษยารัตน์ จันทร์ประเสริฐ. (2563). การพัฒนาแบบวัดความเหนื่อยหน่ายในการเรียน โดยใช้แองเคอร์ริง วินเยตต์, Veridian E-Journal,Silpakorn University, 12(2), 825-845.
โรงพยาบาลรามคำแหง. (2566). เช็คอาการ คุณเข้าข่ายภาวะหมดไฟ (Burnout) ในการทำงานหรือยัง. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2567, จาก https://www.ram- hosp.co.th/news_detail/1865
วรินทร์ทิพย์ สายมงคลทิพย์. (2566). รู้จักกับ “Academic Burnout” ภาวะหมดไฟในการเรียน. สืบค้นเมื่อว 27 มิถุนายน 2567, จาก https://www.feedforfuture.co/feed-life/22846/
ศราวุธ สุทธิรัตน์ และคณะ (2565). ภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 3 และ 4มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารเทคนิคการแพทย์, 51(2), 8617-8626.
ศิริบูรณ์ สายโกสุม. (2534). กลวิธีการให้คำปรึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2561). การบริหารจัดการชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(1), 24-38.
ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์. (2562). ใจของเราก็เจ็บป่วยเป็น: สุขภาพจิตและความคิดฆ่าตัวตายของนักเรียนนักศึกษาไทย. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2567, จาก https://www.the101.world/students-mental-health/
สกล วรเจริญศรี. (2556). การศึกษาคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์¬ต่อความสำเร็จในการดำเนินชีวิตของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์¬ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การให้คำปรึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2566). Burnout ภาวะหมดไฟ. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.thaihealth.or.th/?p=341096
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2567). สรุปผลการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร เดือนมกราคม 2567. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/ 2024/20240227101745_32024.pdf
หลิว เต๋อจิน. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมกับความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ชาวไทย: ทุนทางจิตวิทยา สำหรับการบริหารจัดการทางจิตวิทยา, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 12(2), 606-618.
องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. (2565). ปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่นกำลังส่งผลร้ายต่อชีวิตและอนาคตของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2567, จาก https://www.unicef.org/thailand/th/การดำเนินงานของยูนิเซฟ
Güngör, A., Sari, H.I. (2022). Effects of Academic Motivation on School Burnout in Turkish College Students. Int J Adv Counselling, 44, 414–431.