การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิค SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทย ก่อนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนแหลมรวกบำรุง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแหลมรวกบำรุง
จำนวน 21 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ใช้วิธีคัดเลือกโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 4 แผน 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุตฐานการวิจัย T-test Dependent for Samples และ T-test One Sample.
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กอบกาญจน์ วงศ์วิสิทธิ์. (2551). ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2551). ภาษากับการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
จีราภรณ์ ขำมณี. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์.(2544). เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชวาล แพรัตกุล. (2552). เทคนิควัดผล,. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2555). การสอนภาษาไทยขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
นันทนา ใจทาน. (2553). การพัฒนาทักษะการเขียนย่อความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้ชุดฝึกทักษะแบบแผนผังความคิดชั้นประถมศึกษาปีที่5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
เนตรนภิส ตันเทิดทิตย์. (2557). การเปรียบเทียบผลการเรียนเรื่องการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่4 ระหว่างการสอนโดยใช้ชุดสื่อประสมกับการสอนแบบ SQ4R (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บันลือ พฤกษะวัน. (2557). แนวพัฒนาการอ่านเร็ว-คิดเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์. (2548). อ่านเป็น:เรียนก่อน-สอนเก่ง. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
วรารัตน์ สุธาวา. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus และการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิไลลักษณ์ ไชยอาจ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2551). เอกสารประกอบการสอนสัมมนาหลักสูตรการสอนวิชาภาษาไทย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2566). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2565-2566. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567, จาก http://www.newone tresult.niets.or.th
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพิ่มทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้น.
สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). ผลงานทางวิชาการส่การเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: อีเคบุคส์.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2552). ความรู้เกี่ยวกับการอ่านจับใจความ เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการอ่านภาษาไทย หน่วยที่1-8. พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: มหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2555). การถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 3. (2566). ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.korat3.go.th/
McGregor, D. (1960). The Human Side of Enterprise. New York: McGraw–Hill Book Company, Inc.
Pettiohn, T.F. (2009). How to study in college: Writing notes, study textbooks, and taking. Ohio: The Ohio State University.