มาตรการทางกฎหมายที่รองรับอาชีพที่เปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์โควิด-19

Main Article Content

เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ
ประพีร์ อภิชาติสกล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบอาชีพในช่วงการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอาชีพช่วงการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิด-19 และ 3) สวัสดิการตามกฎหมายที่พึงได้รับหลังการเปลี่ยนแปลงอาชีพของแรงงานนอกระบบในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ด้วยสถิติพรรณนา โดยใช้ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ร่วมกับสถิติอ้างอิงเชิงอนุมาน และมีข้อคำถามเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบทั้งในและต่างประเทศ ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 29 ปี และมากกว่า 1 ใน 3 ปัจจุบันเป็นผู้ที่ว่างงาน กลุ่มตัวอย่างที่เคยมีงานทำก่อนเกิดการแพร่ระบาดจำนวนมากกลายเป็นผู้ว่างงานและยังไม่ได้ทำงานในปัจจุบัน (ร้อยละ 69.4) ด้านความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอาชีพ คนในช่วงวัยที่มีอายุมากกว่าจะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงรูปแบบอาชีพน้อยกว่า ขณะที่คนในช่วงวัยที่มีอายุน้อยกว่า หรือกลุ่ม Generation ใหม่ มีแนวโน้มที่จะเลือกทำงานตามความชอบมากกว่า ในด้านของอาชีพการทำงาน พบว่า ผู้ที่ไม่มีข้อจำกัดด้านการทำงานและสามารถประกอบอาชีพเสริมได้ มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบอาชีพมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ทำงานเลย การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกลุ่มประชากรวัยแรงงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เป็นแรงงานนอกระบบ ไม่มีนายจ้าง ไม่มีหลักประกันทางสังคม ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้กลุ่มแรงงานเหล่านี้มีความต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐมากกว่ากลุ่มอื่น

Article Details

How to Cite
ไสยสมบัติ เ., & อภิชาติสกล ป. (2024). มาตรการทางกฎหมายที่รองรับอาชีพที่เปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์โควิด-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 18(60), 272–286. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/274700
บท
บทความวิจัย

References

Cohen, J. (1992). A power primer. Psychological Bulletin, 112(1), 155–159. https://doi.org/10.1037/0033-2909.112.1.155

Chalamwong, Y. et al. (2021, April 29). The impact of the second and third waves of COVID-19 outbreaks on the direction of the Thai labor market. Thailand Development Research Institute: TDRI. https://tdri.or.th/2021/04/covid-19-2-3-affected-thai-labor-market/

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.

Electronic Transactions Development Agency (ETDA). (2021, June 10). Thai e-commerce after COVID-19. https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/Perspective-on-Future-of-e-Commerce.aspx

Poojanjob, R. (2022). The influence of adaptation from the impact of COVID-19 that affect the quality of life of informal workers in Mueang District, Songkhla Province. School of Administrative Studies Academic Journal, 5(2), 2-18. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/256897

The Senate Newsletter. (2022, June). Promotion of quality of life development and protection of informal workers. In Column: Interesting Laws (pp. 17-20). https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/253/files/Analysis/65/06_65_1.pdf

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper & Row.