การจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

โอภาศ วุฒิเศลา
ชวนคิด มะเสนะ
วิสุทธิ์ ราตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเสนอการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างการตอบแบบสอบถาม จำนวน 379 คน การสัมภาษณ์ จำนวน 9 คน การศึกษาดูงาน จำนวน 3 โรงเรียน การประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน และการประชาพิจารณ์ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบประเมินการจัดการแบบมีส่วนร่วม และแบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่าการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน (Planning)การดำเนินการ (Action)การประเมินผล(Evaluation)และการใช้ประโยชน์(Congratulation) โดยแบ่งการจัดการแบบมีส่วนร่วมเป็น 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 การจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ร่วมดำเนินการจัดการเรียนรู้ ร่วมวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ร่วมใช้ประโยชน์และชื่นชมยินดีในความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และด้านที่ 2 การจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนโดยผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน ร่วมวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน ร่วมใช้ประโยชน์และชื่นชมยินดีในความสำเร็จของการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประชาพิจารณ์และประเมินการจัดการแบบมีส่วนร่วม พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการจัดการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความเหมาะสมของคู่มือการนำไปใช้ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชัยรินทร์ ชัยวิสิทธ์. (2545).การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างค่านิยมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงให้ นักเรียนและชุมชนด้วยโครงงานอาชีพ.งานวิจัยปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
2. ทวี ศันสนียพันธุ์. (2550). รายงานการดำเนินงานการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาเขตตรวจราชการที่ 13. นครราชสีมา : กลุ่มติดตามและประเมินผลสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 8.
3. ประยงค์ แก่นลา. (2552).รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. งานวิจัยปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
4. อภิชัย พันธเสน และคนอื่นๆ. (2549). สังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
5. Binda,K.(1989). Elementary School Principle and The Process of Curriculum Implimentattion. Dissertation Abstracts International.
6. UNESCO. (2000). Strategies and Procedures in Developing and Implementing Curriculum. Bangkok : The Unesco Regional Office for Education in Asia and Oceania.