กระบวนการเรียนรู้กับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาชุมชนวนเกษตร ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ยุวดี ธัญทนะ
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์
จำลอง แสนเสนาะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้กับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนวนเกษตร ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี และเพื่อนำเสนอตัวแบบที่เหมาะสมในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีหน่วยการศึกษาวิเคราะห์เป็นพื้นที่ในชุมชนวนเกษตร ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี งานวิจัยนี้ใช้แนวทางการวิจัยสหวิทยาการแบบข้ามพ้นสาขา วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์ การใช้เทคนิคในการวิจัยด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ ใช้หลักการสามเส้าเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพโดยการตีความหมายจากปรากฏการณ์ทางสังคม ใช้กรอบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมที่ประสบความสำเร็จมีจำนวนทั้งหมด 5 กรณีศึกษา ได้แก่ กรณีศึกษาประเพณีบุญปลงคืนถิ่น กรณีศึกษาสวนป่าอรัญปิยวงศ์ กรณีศึกษากลุ่มเครือข่ายวนเกษตรตำบลพวา กรณีศึกษากลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน และกรณีศึกษาการใช้คูปองแลกเปลี่ยนชุมชน ตัวแบบที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้เกิดความยั่งยืน คือ แบบวัฒนธรรมชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชล บุนนาค. (2560). เอกสารประกอบอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรอบรมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสําหรับภาครัฐ. ณ ห้องบรรยาย ศ 101 ชั้น 1 : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์.

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2550). ระบบแลกเปลี่ยนชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง. เอกสารไม่ตีพิมพ์ : โครงการวิจัยจันทบุรี.

ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์. (2543). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสร้างความเข้มแข็งชุมชน: กรณีศึกษาบ้านพุคาจานจังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการกลุ่มการวิจัยสนองโครงการพระราชดำริ : 2550.

บรรทม สมแสน. เป็นผู้ให้สัมภาษณ์.ยุวดี ธัญทนะ เป็นผู้สัมภาษณ์. 3 มีนาคม 2564 : ที่ศูนย์ประชุมบ้านดิน พวา.

บุญเลิศ ดุชิตา. เป็นผู้ให้สัมภาษณ์.ยุวดี ธัญทนะ เป็นผู้สัมภาษณ์. 27 มกราคม 2563 : ที่ชุมชนบ้านบ่อไฟไหม้.

ปัทวี สัตยวงศ์ทิพย์. (2558). บทบาทของพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ป่าไม้ กรณีศึกษาพระครูประโชติธรรมาภิรมย์ (สาย โชติธมฺโม) วัดวังศิลาธรรมาราม ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง : มหาวิทยาลัยบูรพา.

พจนา เอื้องไพบูลย์. (2546). การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน :การศึกษาแบบพหุกรณี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรเดช จันทรศร. (2554). การจัดการภาครัฐตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.