รูปเเบบสมการโครงสร้างความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาเเห่งชาติ

Main Article Content

ธิติพงษ์ สุขดี
ภานุวัฒน์ ศรีวรรณ
ชลิตา ชมสีดา

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาเเห่งชาติ และวิเคราะห์สมการโครงสร้างความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาเเห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 240 คน ได้มาจากสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง


              ผลการวิจัยพบว่า 1) ความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาเเห่งชาติ โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก 2) การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาเเห่งชาติ พบว่า โมเดลการวิจัยสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก ค่าไค -สแควร์สัมพัทธ์มีค่าเท่ากับ 3.53 (ค่าไค – สแควร์ (Chi-Square)   มีค่าเท่ากับ 187.25 ที่ชั้นแห่งความเป็นอิสระ (degrees of freedom) มีค่าเท่ากับ 53) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.90 ตามลำดับ ค่าดัชนีความสอดคล้องสัมพันธ์ (NFI) มีค่าเท่ากับ 0.95 ค่าดัชนีความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) มีค่าเท่ากับ 0.95 และ ค่า RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.08 และอิทธิพลรวมความฉลาดทางสังคมได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดมากจากความฉลาดทางอารมณ์ (0.58)  รองลงมาคือ การปรับตัว (0.53) และความสัมพันธภาพในครอบครัว (0.53)  เท่ากัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจน์กมล สุวิทยารัตน์ ทศวร มณีศรีขำ พาสนา จุลรัตน์ และ อุทัยวรรณ สายพัฒนะ. (2556). การศึกษาความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ภาคใต้. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร,15(1),64-75.

กรมสุขภาพจิต. (2543). ความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ดวงใจ วัฒนสินธุ์ สิริพิมพ์ ชูปาน ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์และ รัศมิ์สุนันท์ จันทรภักดี. (2561). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล.วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 15(1),1-9.

ทองทิพภา วิริยะพันธ์. (2553). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

นภัส ศรีเจริญประมง และวราลี ถนอมชาติ. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักศึกษาวิชาชีพครู.วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(3), 182-190.

ประภาศ ปานเจี้ยง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์และรูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลา.

ภัทริณี คงชู สมพงษ์ ปั้นหุ่น ไพรัตน์ วงษ์นาม. (2562). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครู.วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 32(112),47-54.

มะลิ ประดิษฐแสง. (2561). ความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของอาจารย์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

วิทมา ธรรมเจริญ จิระพงศ์ หลาวเพ็ชร ปวีณา วรไชย นิตยา ทองหนูนุ้ย และญาดาภา โชติดิลก. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ปีการศึกษา 2561. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(1), 182-190.

ศิริญพร บุสหงส์ ชนัดดา แนบเกสร และจิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น,16(1),26-38.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. 2557. ราชกิจจานุเบกษา.

ไหมไทย ไชยพันธุ์ และจิระสุข สุขสวัสดิ์. (2557). การปรับตัวทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิมระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์ และพัชรินทร์ รุจิรานุกูล. (2562). แนวทางส่งเสริมความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 16(3), 145 -154.

Al-Tamimi, E. & Al-Khawaldeh, N. (2016). Emotional Intelligence and Its Relation with the Social Skills and Religious Behaviour of Female Students at Dammam University in the Light of Some Variables. International Education Studies, 9(3),131-147. doi:10.5539/ies.v9n3p131

Bar-On, R. (2005). The impact of emotional intelligence on subjective well-being. Perspectives in Education, 23, 41–61.

Buzan, T. (2003). The power social intelligence. Welling borough. England : Thorsons.

Friedman, M. M., Bowden, V. R., & Jones, E. G. (2003). Family nursing: Research, theory and practice (5th ed.). New Jersey: Upper Saddle River.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, J.A. (2000). Introducing LISREL. London: Sage Publications. doi: 10.4135/9781849209359

Habib, H. (2019). Professional Ethics among College Teachers in Relation to Social Intelligence. Shanlax International Journal of Education, 7(4), 14-18. doi: 10.34293/education.v7i4.575

Hair, Jr., J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E. & Black, R. L., W.C. (2018). Multivariate Data Analysis (8th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Joreskog, K. & Sorbom, D. (1996). LISREL 8 User’s Reference Guide. Chicago: Scientific Software International.

Kadri,A & Bensefiane, Z. (2019). Social Intelligence as a Mechanism for Achieving Quality of Family Life. International Journal of Youth Economy. 3(2):119-219. doi: 10.18576/ijye/030205

Roy, C., & Andrew, H. A. (1999). The Roy Adaptation Model (2nd ed.). Connecticut: Appleton & Lange.

Schumacker, R. & Lomax, R. (2016). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling (4th ed). New York: Routledge.

Sukdee, T. (2021). The development of indicators for transformational leadership of undergraduate students at Thailand national sports university. World Journal of Education, 11(1), 94-106. doi:10.5430/wje.v11n1p94.

Sukdee, T., & Chankuna, D. (2021). Factors influencing adjustment in physical education and sports learning after the COVID-19 pandemic among students in the faculty of education at Thailand national sports university. World Journal of Education, 11(2), 24-35. doi: 10.5430/wje.v11n2p24

Trigueros, R., Sanchez-Sanchez, E., Mercader, I., Aguilar-Parra, J. M., López-Liria, R., Morales-Gázquez, M. J., Fernández-Campoy, J. M., & Rocamora, P. (2020). Relationship between Emotional Intelligence, Social Skills and Peer Harassment. A Study with High School Students. International journal of environmental research and public health, 17(12), 4208. doi:10.3390/ijerph17124208