การพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยเครือข่าย โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

Main Article Content

ปัณฑ์ชณิช เพ่งผล
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ

บทคัดย่อ

              วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยเครือข่ายโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแพลตฟอร์ม และ 4) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแพลตฟอร์ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยเครือข่ายโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินคุณภาพของแพลตฟอร์มโดยผู้เชี่ยวชาญ และ 4) แบบสอบถามและสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที


             ผลการวิจัยพบว่า 1) แพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยเครือข่ายโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.35/82.46 ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ผลการประเมินคุณภาพของแพลตฟอร์มจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก โดยเห็นว่าแพลตฟอร์มนี้มีความน่าสนใจและเหมาะที่จะใช้กับผู้เรียน 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ .8959(89.59%) และ 4) ผู้เรียนที่เรียนด้วยแพลตฟอร์มดังกล่าวมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแพลตฟอร์มอยู่ในระดับมากเช่นกัน ผลการวิจัยทำให้ได้แพลตฟอร์มสำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริง และทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยเครือข่ายตามที่ได้ออกแบบไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2560). ห้องเรียนกลับด้าน : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. (ฉบับพิเศษ) เมษายน-มิถุนายน 2560. 6(2): 171-181.

ญาณินท์ อุดมสุขถาวร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์กลุ่มสาระสาระการเรียนรู้ศิลปะ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ Augmented Reality สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดรุณี ปัญจรัตนากร, สำเริง อ่อนสัมพันธุ์, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ฤทธิเดช พรหมดี, อุษา งามมีศรี และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564). แนวทางการบริหารงานระบบไอซีทีเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษา. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ 10. 3392-3907. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ และปรางทิพย์ เสยกระโทก. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์รายวิชาระบบไอซีทีและการจัดการยุคใหม่. วารสารสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 31(1): 25-43.

Baytiyeh, H. (2017). The flipped classroom model: when technology enhances professional skills. International Journal of Information and Learning Technology. 34(1): 51-62.

Biswas, P. (2020). Develop Learning Management System Without Breaking a Sweat. [Online] .Retrieved June 28, 2021, from https://www.unifiedinfotech.net/blog/LMS/

Chew, E., Jones, L.J.N. and Wordley, S. (2018). “Flipping or flapping?” investigating engineering students’ experience in flipped classrooms. On the Horizon. 26(4): 307-316.

Das, A., Lam, T.K., Thomas, S., Richardson, J., Kam, B.H., Lau, K.H. and Nkhoma, M.Z. (2019). Flipped classroom pedagogy: Using pre-class videos in an undergraduate business information systems management course. Education + Training. 61(6): 756-774.

Fumasoli, T., Barbato, G. and Turri, M. (2020). The determinants of University Strategic Positioning: a Reappraisal of the Organization. Higher Education. 80: 305–334.

Jian, Q. (2018). Effects of digital flipped classroom teaching method integrated cooperative learning model on learning motivation and outcome. The Electronic Library. 37(5): 842-859.

Lento, C. (2016). Promoting active learning in introductory financial accounting through the flipped classroom design. Journal of Applied Research in Higher Education. 8(1): 72-87.

Lemieux, V.L., Rowell, C., Seidel, M.-D.L. and Woo, C.C. (2020). Caught in the middle? Strategic Information Governance Disruptions in the era of Blockchain and Distributed Trust. Records Management Journal. 30(3): 301-324.

Sinlarat, P. (2020). The Path to Excellence in Thai Education. RICE Journal of Creative Entrepreneurship and Management. 1(2): 60-75.

Smith, K.D. (2021). Is it face time or structure and accountability that matter? Moving from a flipped to a flipped/hybrid classroom. Journal of Applied Research in Higher Education. 13(2): 609-621.

Zainuddin, Z., Haruna, H., Li, X., Zhang, Y. and Chu, S.K.W. (2019). A systematic review of flipped classroom empirical evidence from different fields: what are the gaps and future trends?. On the Horizon. 27(2): 72-86.

Zainuddin, Z. and Perera, C.J. (2018). Supporting students’ self-directed learning in the flipped classroom through the LMS TES Blend Space. On the Horizon. 26(4): 281-290.

Zainuddin, Z., Zhang, Y., Li, X., Chu, S.K.W., Idris, S. and Keumala, C.M. (2019). Research trends in flipped classroom empirical evidence from 2017 to 2018: A content analysis. Interactive Technology and Smart Education. 16(3): 255-277.