ตัวแบบการจัดการปกครองท้องถิ่นบนฐานแนวใหม่: กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิพากษ์ตัวแบบปกครองท้องถิ่น ตัวแบบการจัดการปกครองท้องถิ่นในบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย และการเสนอตัวแบบการจัดการปกครองท้องถิ่นแนวใหม่ในบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก การวิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูล 4 รูปแบบ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า และการสังเกตการณ์ การตรวจสอบข้อมูลใช้หลักการสามเส้า ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่าตัวแบบการปกครองท้องถิ่นแนวเก่าที่นำมาใช้ในประเทศไทย มีจุดอ่อนที่สำคัญคือการละเลยมิติความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจ บทบาทของกลุ่มและชนชั้นในสังคม การมุ่งเน้นอำนาจสูงสุดอยู่ที่ระบบการเลือกตั้ง จนกระทั่งพัฒนาไปเป็นการเลือกตั้งที่อาศัยฐานธุรกิจการเมือง การจัดวางรูปแบบการบริหารจัดการที่รับนโยบายและรูปแบบการบริหารจัดการที่ลอกเลียนแบบการบริหารงานด้านต่าง ๆ จากส่วนกลาง และที่สำคัญที่สุดก็คือถูกบีบให้ดำเนินกิจกรรมส่วนรวมในลักษณะของกฎหมายหรือคำสั่งโดยรัฐราชการแบบผูกขาด การบริหารงานที่ให้ความสำคัญต่อระบบราชการและการประนีประนอมผลประโยชน์ของชนชั้นนำ ที่มีสายบังคับบัญชาตามลำดับสายงานแบบบนลงล่าง(Top-down) ส่วนตัวแบบการจัดการปกครองท้องถิ่นในบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย มีข้อจำกัดที่สำคัญคือ การมองอำนาจสาธารณะแบบเอกนิยม (Monism) ทำให้รัฐผูกขาดงานสาธารณะของสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำงานสาธารณะในฐานะที่เป็นกลไกของรัฐเป็นสำคัญ เป็นการให้ความสำคัญแต่เฉพาะการเลือกตั้ง นอกจากนี้แล้วแนวคิดท้องถิ่นนิยมแบบเก่ายังประสบกับปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้งในท้องถิ่นอันมาจากการเลือกตั้ง โดยที่รูปแบบดังกล่าวจะไม่สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน เนื่องจากมองว่าประชาชนทั่วไปขาดความรู้ความสามารถ ไม่มีเครื่องมือในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและเป็นวิทยาศาสตร์ ผู้เขียนจึงนำเสนอทางเลือกใหม่ในการจัดการปกครองท้องถิ่นแนวใหม่ในบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก ที่เรียกว่าตัวแบบการจัดการปกครองท้องถิ่นแนวใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการพัฒนาฐานคิดของทฤษฎีท้องถิ่นนิยมแบบใหม่ ที่ตั้งอยู่บนทฤษฎีอำนาจในลักษณะที่ต้องมีการตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกันระหว่างชุมชน ประชาสังคมและสถาบันต่าง ๆในท้องถิ่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์.จรรยาศิริ เดชปภา เป็นผู้สัมภาษณ์. วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563. ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์และโอฬาร ถิ่นบางเตียว. (ม.ป.ป.). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน : มิติการกระจายอำนาจ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์และโอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2561). การสำรวจเชิงวิพากเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในประเทศไทย.
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ไททัศน์ มาลา (2560). การปกครองท้องถิ่นไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม .(2557). พัฒนาการของแนวคิดการบริหารจัดการสาธารณะ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา, ปีที่ 2, ฉบับที่ 4.
อเนก เหล่าธรรมทัศน์ และวลัยพร รัตนเศรษฐ์ (2557)รัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
โอฬาร ถิ่นบางเตียว .(2550). การเมืองท้องถิ่นไทย .ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา
โอฬาร ถิ่นบางเตียว . (2557) ตำราการปกครองท้องถิ่นไทย.สมุทรปราการ:พีเอ็นเตอร์ไพรส์ ซัพพลาย
โอฬาร ถิ่นบางเตียวและจิตรา สมบัติรัตนานันท์. (2557). โครงการ กลไกและกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองตนเองของท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก. ชุดโครงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
Dollery, B.E. and Grant, B. (2011). The Contribution of Gerry Stoker to the Theory and Practice of Local Government Reform : A Critical Overview. Centre for Local Government , School of business, Economics and Public Policy, University of New England.
Heywood Andrew. (2007). Politics. Third Edition. Palgrave macmillan.
Gerry , Stoker. (2005). New Localism, Participation and Networked Community Governance. Working paper at www. Ipeg.org.uk.
William L. Miller, Malcolm Dickson and Gerry Stoker. (2000). Models of Local Governance Public Opinion and Political Theory in Britain. New York : PALGRAVE.