การประเมินความต้องการจำเป็นในการเตรียมสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี

Main Article Content

ชลิตา ชมสีดา
ธิติพงษ์ สุขดี

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการเตรียม สอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี และเสนอแนะแนวทางในการเตรียมสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี ปีการศึกษา 2563 จำนวน 144 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความต้องการจำเป็นโดยเทคนิค Modified Priority Need Index และสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 


  1. ลำดับของความต้องการจำเป็นในการเตรียมสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2) ด้านวิชาชีพครู 3) ด้านวิชาเอกพลศึกษา 4) ด้านการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 5) ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา

  2. นักศึกษาสาขาพลศึกษาและสุขศึกษา (เอกคู่) มีความต้องการจำเป็นในการเตรียมสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ด้านวิชาเอกพลศึกษามากกว่านักศึกษาสาขาพลศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ไม่แตกต่างกัน

  3. ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 1) ควรมีการจัดทำแผนปฏิบัติการในการเตรียมตัวสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 2) ควรมีการชี้แจงวิธีการสอบเกณฑ์การสอบ และจัดทำคู่มือการเตรียมสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 3) ควรมีการจัดแผนการเรียนหลักสูตรให้สอดคล้องกับการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 4) ควรมีการอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมให้กับนักศึกษาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 5) ควรส่งเสริมกิจกรรมภายในที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 .กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

คณะกรรมการคุรุสภา. (2563). ราชกิจจานุเบกษาหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู. พ.ศ. 2563 เล่ม 137 ตอนพิเศษ 109 ง .

จุฑามาส ศรีจำนงค์. (2561). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองในการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 12(2), 31-42.

เจนวิทย์ วารีบ่อ และสวัสดิ์ชัย ศรีพนมธนากร. (2564). การพัฒนาโมเดลการวัดสมรรถนะครูผู้ช่วยตามความต้องการจำเป็นในมุมมอง ของครูในภาคตะวันออก. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 15(2), 97-108.

ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ และ วาสนาไทย วิเศษสัตย์. (2563). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 15(1),106-117.

ชมแข พงษ์เจริญ. (2562). การรับรู้ของบุคลากรทางการศึกษาต่อการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว.13(2),31-41.

ทัศนา ประสานตรี. (2555). การพัฒนารูปแบบความเป็นครูของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม.วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 2(3), 25-32.

เบญจวรรณ ศริกุล จตุพล ยงศร และ จักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2562). การศึกษาทักษะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มภาคใต้ตอนบน. วารสารสุทธิปริทัศน์. 33(108), 90-105.

พงศธร ไพจิตร ,สุธนะ ติงศภัทิย์ และเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2562). ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.9(3), 30-36.

ไพบูลย์ สุทธิ. (2561). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 12(3), 136-148.

มารีแย ลือโมะ และ ชวลิต เกิดทิพย์. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาประสิทธิภาพการสอนของครูประถมศึกษาที่ต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28(3), 153-166.

สุคนธา ซินศิริ. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะครูประถมศึกษา ในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 14(2), 91-101.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2) .กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Dick, W., Carey, L., & Carey, J. O. (2001). The systematic design of instruction (5th ed.). New York: Pearson Education.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Smith, P. L. & Ragan, T. J. (2005). Instructional design (3rd ed.). New Jersey: John Wiley & Sons.