การวิเคราะห์รูปแบบการออกแบบเพื่อการสื่อสารตราสินค้าไลฟ์สไตล์

Main Article Content

กมลชนก เศรษฐบุตร

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการออกแบบการสื่อสารตราสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ประสบความสำเร็จ ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพจากการวิเคราะห์เนื้อหา โดยถอดบทเรียนจากตราสินค้าไลฟ์สไตล์ในต่างประเทศ ได้แก่ Happy Brush, BergHOFF, Philippe Starck, SMEG, Apple, Porsche Design, Sony และ Kohler จากนั้นทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคลจากประชากรไทยจำนวน 12 คน ที่มีส่วนร่วมในการสื่อสารตราสินค้าไลฟ์สไตล์ไทยซึ่งประสบความสำเร็จทั้งด้านรางวัลและยอดขาย


            ผลการวิเคราะห์พบว่าผู้รับผิดชอบตราสินค้าไลฟสไตล์ที่ถูกคัดเลือกมาในต่างประเทศนำกระบวนการคิดเชิงออกแบบและกิจกรรมด้านการออกแบบไปผนวกเข้ากับกลยุทธ์ของการบริหารธุรกิจในระดับโครงสร้าง ในขณะที่ประเทศไทยยังแค่นำไปอยู่ในกระบวนการทำงานเท่านั้น ในต่างประเทศมีการฝึกให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องคิดอย่างนักออกแบบ แต่ประเทศไทยยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการคิดอย่างนักออกแบบกับทุกคน นักออกแบบในต่างประเทศมีส่วนร่วมตั้งแต่ช่วงต้นของกระบวนการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยในประเทศไทยนักออกแบบรับผิดชอบเฉพาะช่วงท้าย ทั้งนี้ กระบวนการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติสำคัญน้อยที่สุดที่สามารถซื้อขายได้เป็นเรื่องที่ทำได้ยากสำหรับองค์กรทั้งต่างประเทศและในประเทศ และการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรผ่านช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์เป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้อย่างคล้ายคลึงกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 13(25): 103-118.

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2545). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณยศ บุญเพิ่มและไตรรัตน์ สิทธิกูล. (2559). กลยุทธ์การออกแบบเพื่อการขับเคลื่อนธุรกิจ: กรณีศึกษาคณะผู้บริหารและเจ้าของกิจการในธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 4, 2(8): 144 – 151.

อภิวรรณ ศิรินันทนา, เสาวนีย์ วรรณประภาและกรรณิกา พงษ์ชัย. (2562). รูปแบบการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของวังสวนบ้านแก้ว. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 13(2): 92-101.

Brandis. (2017). Lifestyle Brand. [Online].Available: https://www.brandis76.com/single-post/2017/03/16/lifestyle-Brand. 2021.

Brown, T. (2008). Design Thinking. [Online]. Available: https://readings.design/PDF/Tim%20Brown,%20Design% 20Thinking.pdf. 2020

Centre, T. D. D. (2011). Design Ladder. [Online]. Available: http://www.seeplatform.eu/ casestudies /Design%20Ladder. 2020

Chernev, A., Hamilton, R., Gal D. (2011). Competing for Consumer Identity: Limits to Self-Expression and the Perils of Lifestyle Branding. Journal of Marketing. 75(3), 66–82.

Kotler, P. and Armstron, G. (2020). Principle of Marketing Eighteenth Edition. UK: Pearson Education Limited.

Kotler, P., Kartajaya, H., and Setiawan, I., (2017). Marketing 4.0- Moving from Digital to Traditional. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

Kotler, P., Kartajaya, H., and Setiawan, I., (2021). Marketing 5.0 – Technology for Humanity. New York: John Wiley & Sons, Inc.

Positioning. (2019). เอ็นอีเอเผย 5 กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ขายดีปี 2019 พร้อมเดินหน้าจัดงาน STYLE Bangkok. [Online]. Available: https://positioningmag.com/1225509. 2021.

Red Dot Design Award. (2021). Categories. [Online]. Available: https://www.red-dot.org. 2021.

Ries, E. (2011). The Lean Startup: How Today’s Entrepreneurs Use Continuous Innovation to Create Radically Successful Businesses. New York: Crown Business.

Statista. (2021). Statistic. [Online]. Available: https://www.statista.com/statistics. 2021.