ศาสตร์พระราชากับการบริหารจัดการปัญหาสุนัขจรจัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาเกี่ยวกับการบริหารจัดการปัญหาสุนัขจรจัดเพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาในการบริหารจัดการปัญหาสุนัขจรจัดและเพื่อนำเสนอตัวแบบการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดตามแนวคิดศาสตร์พระราชางานวิจัยนี้ใช้แนวทางการวิจัยสหวิทยาการแบบข้ามพ้นสาขาส่วนวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพการใช้เทคนิคการวิจัยในกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพแนวกรณีศึกษาจากการเลือกกรณีศึกษารวม4กรณี ขณะที่วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยการศึกษาเอกสารการสัมภาษณ์เจาะลึก การสัมภาษณ์กลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง และการสังเกตการณ์โดยใช้หลักการสามเส้าเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการตีความหมายในการวิจัยเชิงคุณภาพจากปรากฏการณ์ทางสังคม ผลการศึกษามีข้อค้นพบว่าองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งหมด 12ข้อได้แก่ การศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ การระเบิดจากข้างใน การแก้ปัญหาที่จุดเล็ก การทำตามลำดับขั้น ภูมิสังคม การทำงานแบบองค์รวม การไม่ติดตำรา การประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด การทำให้ง่าย การมีส่วนร่วม ประโยชน์ส่วนรวม และการใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
ขณะที่ผลการศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาในการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดดังกล่าวพบว่า จากการศึกษาถอดบทเรียนกรณีศึกษาทั้ง4กรณีศึกษา มีการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาในการบริหารจัดการสุนัขจรจัดคือ มูลนิธิศูนย์รักษ์สุนัขหัวหินในพระบรมราชูปถัมภ์ มีการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาที่รับแนวพระราชดำริต่อเนื่องมาจากรัชกาลที่ 9 โดยมีการดูแลสุนัขจรจัดอย่างเป็นระบบ มีการทำหมันเพื่อควบคุมปริมาณและการเลี้ยงดูสุนัขให้อยู่กับธรรมชาติ ขณะที่ศูนย์พักพิงสุนัขจรจัดนครชัยบุรินทร์เป็นศูนย์ที่อยู่ภายใต้พระอุปถัมภ์ของเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ เป็นการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาภายใต้แนวทางแบบสุนัขมีความสุขและคนทำงานมีความสุขควบคู่ไปกับการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆในการดูแลสุนัขจรจัดนอกจากนี้ศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดกองทัพเรือ โดยหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและชายฝั่ง ซึ่งอยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระองค์ภา ที่มีการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาในการมองสุนัขเหมือนผู้ร่วมชะตากรรมบนโลก ดังนั้นจึงปรารถนาให้สุนัขได้มีที่อยู่อาศัยและรอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง และศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดของกองทัพเรือโดยหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เป็นศูนย์พักเลี้ยงโดยพระราชดำริของรัชกาลที่ 10 ซึ่งมีการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาที่เน้นในเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรม ความเพียงพอเกี่ยวกับอาหาร ความสะอาดเพื่อให้สุนัขมีสุขภาพที่ดีและจากการศึกษาองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาเกี่ยวกับการบริหารจัดการปัญหาสุนัขจรจัดเพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาในการบริหารจัดการปัญหาสุนัขจรจัด ผนวกกับ การศึกษาถอดบทเรียนการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาในการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดจากกรณีศึกษาทั้ง 4 กรณีศึกษา ผู้วิจัยสามารถพัฒนาไปสู่การนำเสนอตัวแบบดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2562).คู่มือแนวทางการบริหารจัดการสถานสงเคราะห์สัตว์. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
ชัยยนต์ ประดิษฐ์ศิลป์. (2559). ตำราวิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม. จันทบุรี : คณะมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ไทยพีบีเอส. (2562). ขึ้นทะเบียน "หมา-แมว" จ่ายตัวละ 450 บาทฝ่าฝืนปรับ 2.5 หมื่นบาท. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/275048. 11 กันยายน 2562.
ไทยรัฐออนไลน์. (2563). หมาแก๊งเดิม เพิ่มเติมคือกัดรถอีกคัน พบไม่ดุร้ายกับคน แต่ชอบกัดกับแมว. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :https://www.thairath.co.th/news/society/1742783?cx_testId= 0&cx_ testVariant=cx_0&cx_artPos=0#cxrecs_s. 15 มีนาคม 2563.
เบญจมาศ สุนนทะนาม และหัชชากร วงศ์สายัณห์. (2561). นโยบายเรื่องสุนัขจรจัดของกรุงเทพมหานครกับเมืองชิคาโก. โครงการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติของนักศึกษา ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1/2561 วันที่ 15 กันยายน 2561 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศุภวัลย์ พลายน้อย. (2556). นานาวิธีวิทยาการถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่งจำกัด.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2562). ศาสตร์พระราชาและปรัชญาสังคมศาตร์. เอกสารประกอบการบรรยาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุทุมพร จามรมาร. (2540). “การวิจัยรายกรณี”ในทิศนา แขมมณี และสร้อยสน สกลรักษ์ (บรรณาธิการ).แบบแผนและเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Patton,MichaelQ. (1990).Qualitative Evaluation and Research Methods.SecondEdition.London :SAGE.
Teddlie, C. &Tashakkori, A. (2009). Foundations of Mixed Methods Research: Integrating Quantitative and Qualitative Approaches in the Social and Behavioral Sciences. London : SAGE Publications Inc.