แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนเบื้องต้นในฐานะชาวพุทธของนิสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

บุญรอด บุญเกิด
สกุล อ้นมา
ขันทอง วิชาเดช

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนเบื้องต้นในฐานะชาวพุทธของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มเพื่อหาแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนเบื้องต้นในฐานะชาวพุทธของนิสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กำหนดผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า  แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนเบื้องต้นในฐานะชาวพุทธของนิสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ควรมีแนวทางส่งเสริมทั้งในรูปแบบกิจกรรม/โครงการ การบูรณาการสอดแทรกในรายวิชาจริยธรรมในชีวิตประจำวัน และการเป็นต้นแบบที่ดี โดยเน้นในลักษณะของรูปแบบกิจกรรม/โครงการเป็นส่วนใหญ่ แบ่งเป็นสำหรับนิสิตที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมในเบื้องต้น ควรมีแนวทางส่งเสริมโดยภาควิชาและคณะ และสำหรับนิสิตที่ไม่ได้ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ควรมีแนวทางที่จะกระตุ้นให้นิสิตเข้ามาร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง โดยการออกแบบในลักษณะชั่วโมงกิจกรรมซึ่งเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งของการเข้าร่วมกิจกรรมของนิสิตก่อนสำเร็จการศึกษา โดยรูปแบบ/กิจกรรม/โครงการ ในการส่งเสริมการปฏิบัติตนเบื้องต้นในฐานะชาวพุทธมีกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบ มีการสร้างแรงจูงใจทางบวก และมีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ผู้รับผิดชอบอาจทำในรูปแบบคณะกรรมการดำเนินการที่ร่วมกันรับผิดชอบระหว่างผู้บริหารคณะ ภาควิชา และตัวแทนนิสิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะเทคโนโลยีและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2563). หวั่น! เด็กรุ่นใหม่ไม่สนใจธรรมะ เหตุมองว่าน่าเบื่อ.

เข้าถึงได้จาก http://www.ictsilpakorn.com/ictmedia/detail.php?news_id=118#.XqQZV2gzZPZ.

คูณ โทขันธ์. (2537). พุทธศาสนากับชีวิตประจำวัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

บุญรอด บุญเกิด และคณะ. (2564). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการศึกษาและแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนเบื้องต้นในฐานะชาวพุทธของนิสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม รหัส 01. (2564, 6 มิถุนายน). ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านพระพุทธศาสนา. สนทนากลุ่ม.

ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม รหัส 02. (2564, 6 มิถุนายน). ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการส่งเสริมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม. สนทนากลุ่ม.

ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม รหัส 03. (2564, 6 มิถุนายน). ผู้บริหาร. สนทนากลุ่ม.

ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม รหัส 04. (2564, 6 มิถุนายน). คณาจารย์ผู้สอน. สนทนากลุ่ม.

ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม รหัส 05. (2564, 6 มิถุนายน). คณาจารย์ผู้สอน. สนทนากลุ่ม.

ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม รหัส 06. (2564, 6 มิถุนายน). นิสิต. สนทนากลุ่ม.

ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม รหัส 07. (2564, 6 มิถุนายน). นิสิต. สนทนากลุ่ม.

ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม รหัส 08. (2564, 6 มิถุนายน). นิสิต. สนทนากลุ่ม.

ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม รหัส 09. (2564, 6 มิถุนายน). นิสิต. สนทนากลุ่ม.

ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม รหัส 10. (2564, 6 มิถุนายน). นายกสโมสร. สนทนากลุ่ม.

วิมล จิโรจพันธุ์. (2548). พุทธประวัติ. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.

ศุภกิจ วงศ์วิวัฒนานุกิจ. (2555). พจนานุกรมศัพท์การวิจัยและสถิติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สำนักข่าวอิศรา. (2558). ค้นคำตอบ...ทำไมคนไทยห่างไกลวัด. เข้าถึงได้จาก https://www.isranews.org/thaireform-

other-news/40254-temple_40254.html.