การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถการคิดเชิงระบบของนักเรียน ที่จัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการสอนแบบตกผลึก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มลพิษทางสิ่งแวดล้อมของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการสอนแบบตกผลึก 2) เปรียบเทียบความสามารถการคิดเชิงระบบของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการสอนแบบตกผลึก 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการสอนแบบตกผลึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 จำนวน 36 คน โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ 2. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดเชิงระบบ 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 4. แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการสอนแบบตกผลึก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มลพิษทางสิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการสอนแบบตกผลึก มีความสามารถในการคิดเชิงระบบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการสอนแบบตกผลึก ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ และ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรูู. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
นิวัติ เรืองพานิช. (2556). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พชรมณฑ์ หมวดนุ่ม. (2555). การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงระบบเพื่อเชื่อมโยงการเขียน โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้นท์ (1991).
สราลี โชติดิลก. (2548). การพัฒนาการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรัสวดี นราพงศ์เกษม. (2557). การพัฒนาความสามารถในการเขียนบทความโดยใช้วิธีสอนแบบสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2560).แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร:พริกหวานกราฟฟิค.
ศิรธา จุฑารัตน์. (2549). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวรรณคดีไทยและความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรอนงค์ สุดสวาท. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถานการณ์และวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมและทักษะการประเมินของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบตกผลึกทางปัญญา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อลิศรา ชูชาติ, อมรา รอดดารา, สร้อยสน สกลรักษ์. (2549). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bowman, M. (1974). Assessing College Student Attitudes Toward Environmental Issues . Journal of Environmental Education, 6(may): 1-5.
Senge, P. M. (1999). The fifth discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. London: Random House Business Books.
Senge, P. M. (2001). Systems Thinking and Organizational Learning: Acting Locally and Thinking Globally in the Organization of the Future. [Online]. Available : https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/037722179290011W. 2018.
Voutsina, Ch. (2012). Procedural and Conceptual Changes in Young Children's Problem Solving. Educational Studies in Mathematics, 79(February): 193-214.