การศึกษาติดตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ

Main Article Content

พรนันท์ คุณธรณ์
มฤษฎ์ แก้วจินดา

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาติดตามผลการเรียนหลังจากการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับอุดมศึกษาของผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ


          กลุ่มเป้าหมายจำนวน 25 คน เป็นผู้เรียนที่เคยเข้าร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและสำเร็จการศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2557-2561 คัดเลือกจากผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมงานวิจัยนี้โดยเป็นศิษย์เก่าทั้งหมดจำนวน 177 คนที่เคยร่วมโครงการฯ และสำเร็จการศึกษาในช่วงเวลาดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Spearman Rank Correlation วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากความคิดเห็นของผู้เรียนต่อโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ


ผลการศึกษาพบว่า ผู้เรียนมีเกรดเฉลี่ยสะสมเมื่อสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยมีค่าเฉลี่ยรวมที่ 3.52 (S.D. = 0.31)  และเกรดเฉลี่ยสะสมภาคเรียนสุดท้ายของระดับอุดมศึกษามีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.25 (S.D. = 0.33) แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถพัฒนาความสามารถพิเศษในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ และประสบความสำเร็จในการเรียนกับโครงการฯ และสามารถศึกษาเรียนรู้ต่อระดับอุดมศึกษาในสาขาที่ตนสนใจและสามารถปรับตัวใช้ชีวิตกับการเรียนระดับอุดมศึกษาได้ดี รวมทั้งยังมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์สูง ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่าง ๆ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนพบว่า ปัจจัยด้านผู้เรียนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\bar{x}= 2.82, S.D. = 0.50, r = .60, p = 0.001) ผู้เรียนรับรู้ว่าความสามารถด้านผู้เรียนมีผลต่อการศึกษาจนประสบความสำเร็จ และผู้เรียนสามารถดึงศักยภาพในตัวเองออกมาให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ รุ้งตาล. (2558). การสอนพิเศษ:ความจำเป็นที่ถูกสร้างขึ้นจากโครงสร้างการศึกษา. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา. 34(1): 133-151.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กีรติ คุวสานนท์. (2560). การจัดการเรียนรู้สู่วิถีผู้เรียนเป็นสำคัญ. ปทุมธานี: บริษัทนัชชาวัฒน์ จำกัด.

ชลชาติ สร้อยทอง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปทุมคงคา. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14, 19 ธันวาคม 2562.

ดาวรุ่ง ชะระอ่ำ, แสงสุข พิทยานุกุล และ มะลิวรรณ ทองอ่อน. (2561). เหตุผลและความสนใจในการเลือกอาชีพและศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ. ครั้งที่ 9, หน้า 205-216.

ดุลยา จิตตะยโศธร. (2552). รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู แนวคิดของ Diana Baumrind. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 29(4): 173-187.

นันทวดี ทองอ่อน และ มฤษฎ์ แก้วจินดา. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 12(2): 129-138.

วัชรี ทรัพย์มี. (2523). การแนะแนวอาชีพ. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณี กองจินดา. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการคิดเลขในใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบซิปปาโดยใช้ แบบฝึกหัดที่เน้นทักษะการคิดเลขในใจกับนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือครู. ครุศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2529). ทฤษฎีและปฏิบัติการทางจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2546). ประมวลสาระชุดวิชา การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2559-2560. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การศึกษาแนวโน้มความต้องการแรงงานของตลาดแรงงานในประเทศไทย ช่วงปี 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อาทร บัวสมบูรณ์. (2538). การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังในชีวิต ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับความเครียดของนักเรียนในโครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางการเรียน (สพพ.) โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพมหานคร. การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Admission Premium. สรุปการรับสมัคร TCAS64. (Online). เข้าถึงได้จาก : https://www.admissionpremium.com/content/5718. 2564.

McClelland, D.C. (1987). Human Motivation. New York: Cambridge University Press.

OECD. (2013). PISA 2012 Results: What Makes Schools Successful?. Paris: OECD publications.