การพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตนักเรียน

Main Article Content

กรรณวิษณ์ ช่วยอุปการ
กัญญาวีร์ แก้วนุ้ย

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมความซื่อสัตย์สุจริตของนักเรียน 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ศึกษาจากประชากรนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 58 คน และกลุ่มภาคีพัฒนา ได้จากเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินพฤติกรรมความซื่อสัตย์สุจริต 2) ประเด็นสนทนากลุ่ม 3) แผนกิจกรรมเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริต 4) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน 5) แบบติดตามพฤติกรรมนักเรียน 6) แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนมีพฤติกรรมความซื่อสัตย์สุจริตอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริต นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ในระดับดี ได้ลงมือปฏิบัติจริง มีพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ครอบครัวและโรงเรียนดีขึ้น มีความพึงพอใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประภัสสร มีน้อย และ ประสพชัย พสุนนท์. (2560). การศึกษาปัจจัยการขัดเกลาทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 9(1) : 215 -228.

พระครูธรรมธราจารย์ มนูญ ศิวารมย์ วิมลพร สุวรรณแสนทวี. (2560). กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมสำหรับนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. ธรรมทรรศน์. 17(2) : 61-73.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). วินัยเรื่องใหญ่กว่าที่คิด. กรุงเทพฯ : พิมพ์สวย.

พระสมพงษ์ สุวโจ (ไชยณรงค์). (2561). การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการดำเนินชีวิตในสังคมยุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 2(1) : 15-23.

ไพบูลย์ สุขเจตนี ยุทธนา ประณีต และสุรพล สุยะพรหม. (2563). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชน ที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(10) : 234-247.

ภัทร์ทิพา เพรียวพาณิชย์ ลําใย มากเจริญ และทิพสุดา คมวงศ์วิวัฒน์. (2560). พฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 14(1) : 21-29.

ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช และคณะ. (2561). ทัศนคติด้านความซื่อสัตย์สุจริตและด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์. Veridien E-Jounal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(1) : 3228-3245.

วชิรดล คำศิริรักษ์ อุษา ปราบหงษ์ และถาดทอง ปานศุภวัชร. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 6(1) : 97-105.

วรสรณ์ เนตรทิพย์ จตุพล ยงศร และราชันย์ บุญธิมา. (2560). องค์ประกอบของพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นทีมของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารสมาคมนักวิจัย. 22(2) : 229-241.

วัชรินทร์ เอี่ยมศิริ. (2561). การขัดเกลาทางสังคมในเรื่องเพศของครอบครัวนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา. “สถานการณ์คอร์รัปชั่นไทยดีขึ้น ชี้คนมีจิตสำนึกดีที่สุดในรอบ 8 ปี”. ไทยโพสต์ออนไลน์. 17 สิงหาคม 2561. [Online]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaipost.net/main/detail/15581. 2564.

สุทธญาณ์ โอบอ้อม และคณะ. (2563). การเสริมสร้างจิตพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตยของนักเรียนในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 9(2) : 65-77.

สัมฤทธิ์ น่วมศิริ และคณะ. (2561). การทุจริตคอร์รัปชันกับสังคมไทย. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 16(2) : 273-282.

อรอนงค์ โฆษิตพิพัฒน์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีมด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือ ทำงานเป็นทีม ในรายวิชาสัมมนาวารสารศาสตร์ สำหรับนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ ระดับชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ. วารสารครุพิบูล. 5(1) : 77-86.

อาภรณ์ ดวงรัตน์ (2561). ผลการใช้โปรแกรมการฝึกสติเพื่อพัฒนาความตั้งใจจดจ่อในเด็กสมาธิสั้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัจฉริยา สุรวรเชษฐ. (2560). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองระดับประถมศึกษา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

Fitriah M. Suud and Abd. Madjid. (2019). The study of educational honesty stages implementation in an Indonesian school. Humanities & Social Sciences Reviews. 7(4) : 502-510.