ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ในระบบออนไลน์ยุคปกติใหม่ โควิด-19 ที่มีต่อความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาครู

Main Article Content

สุวรรณา จุ้ยทอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้  ของนักศึกษาครูที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ในระบบออนไลน์ยุคปกติใหม่ โควิด-19 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม  และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครู  หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีปีที่ 2 คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี  ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ที่เรียนรายวิชาวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ สาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์ทั่วไป  จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 18 คน ได้มาโดยสุ่มแบบกลุ่ม  เครื่องมือที่ได้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ในระบบออนไลน์ยุคปกติใหม่ โควิด-19 แบบวัดความสามารถในการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92  และแบบสอบถามความพึงพอใจ  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความสามารถในการเรียนรู้ ของนักศึกษาครูที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ในระบบออนไลน์ยุคปกติใหม่ โควิด-19 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ในระบบออนไลน์ยุคปกติใหม่ โควิด-19 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05

  2. ความพึงพอใจของนักศึกษาครู หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน  ในระบบออนไลน์ยุคปกติใหม่ โควิด-19 โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.61, S.D. = 0.54) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย: แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2564). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะที่เน้น Blended learning. พาวเวอร์พอยต์ ประกอบการบรรยายในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 ณ ห้องประชุมออนไลน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด – 19. วารสารศิลปะการ จัดการ. 4(3), 783-795.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชตภาคย์. 15(40), 33-42.

สุวรรณา จุ้ยทอง. (2562). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ รายวิชาหลักการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1. มกราคม–เมษายน 2562: 31-46.

Bruning, R., Schraw, G., Norby,M., & Ronning, R. (2004).Cognitive psychology and instruction (4th ed.). Upper Saddle River, NJ: Merrill/Prentice Hall.

Lorico DS. Lapitan, Jr., et.al. (2021). An effective blended online teaching And learning strategy druring the COVID-19 pandemic, Education for Chemica Engineers. 2021 Apr; 35: 116–131. [Online], Available fromhttp:////www. ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7847201/pdf. (2021, 10 July).