ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับบริการชำระเงินระบบพร้อมเพย์ของผู้บริโภคในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ลักขณา ธรรมสุภาพงศ์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาวะการยอมรับบริการชำระเงินระบบพร้อมเพย์ของผู้บริโภคในจังหวัดจันทบุรี (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับบริการชำระเงินระบบพร้อมเพย์ของผู้บริโภคในจังหวัดจันทบุรี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเพื่อการสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ กลุ่มผู้บริโภคสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรีเคยได้ยินชื่อหรือรู้จักบริการพร้อมเพย์และเคยใช้ระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจำนวน 43 ข้อ ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 364 ชุด เมื่อนำมาคัดกรองแล้วเหลือแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์จำนวน 330 ชุด เพื่อเป็นตัวแทนผู้บริโภคสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี วิธีการทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอย ทดสอบ T-test การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)  การวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ากลุ่มตัว อย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า เป็นนักเรียนนักศึกษา ผู้รับจ้างอิสระหรือผู้เกษียณอายุ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท และพบว่าส่วนใหญ่เลือกใช้ช่องทางการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบโมบายแบงค์กิ้ง มีความถี่ในการโอนเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง มีสถานะการลงทะเบียนใช้งานพร้อมเพย์มากกว่ายังไม่ลงทะเบียน ในกลุ่มที่ยังไม่ลงทะเบียนมีสาเหตุเนื่องมาจากการที่ไม่ทราบว่าต้องลงทะเบียนอย่างไร และส่วนใหญ่ไม่รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องหรือรับรู้เพียงบางส่วนเกี่ยวกับบริการพร้อมเพย์ ความแตกต่างด้านอาชีพและรายได้ส่งผลต่อการยอมรับการใช้บริการพร้อมเพย์ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณเพื่อศึกษาอิทธิพลของกลุ่มตัวแปรที่มีต่อการยอมรับการใช้บริการพร้อมเพย์ พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อการยอมรับการใช้บริการได้แก่ อุปนิสัยส่วนบุคคล ความคาดหวังจากความพยายามในการใช้งาน ความคาดหวังด้านสมรรถนะของระบบ และสภาพสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการใช้งานตามลำดับ ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางให้สถาบันทางการเงินที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาวางแผนปรับปรุงและพัฒนาระบบพร้อมเพย์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจนำไปต่อยอดงานวิจัยในอนาคต                                                                                                                                      

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เสาวณิต อุดมเวชสกุล (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการ M-Banking Application ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชวิศา พุ่มดนตรี (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้บริการพร้อมเพย์ (PromptPay) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มัทริกา เกิดบ้านชัน (2554). การศึกษาปัจจัยการยอมรับการใช้บริการชำระสินค้าหรือบริการผ่านมือถือ. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วริษฐา สมเลข (2556) . ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี Mobile Payment ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาการชำระเงินค่าบัตรชมภาพยนต์. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วอนชนก ไชยสุนทร (2558). การยอมรับการใช้งานของระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 6. วิชิต พันธ์อำนวย (2552). การสร้างความผูกพันในการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ทางการเงิน กรณีศึกษา:อินเตอร์เน็ตแบงค์กิ้งและโมบายแบงค์กิ้ง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2541). การบริหารเชิงกลยุทธ์.พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สืบพงศ์ ปัทมโยธิน (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษีออนไลน์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Al-Jabri, I. M., & Sohail, M. S. (2012). Mobile banking adoption: Application of diffusion of innovation theory. Journal of Electronic Commerce Research, 13(4), 379-391.

Alshehri, M., Drew, S., & AlGhamdi, R. (2013). Analysis of citizens acceptance for e-government services: applying the UTAUT model. arXiv preprint arXiv:1304.3157.

Bagozzi, R. P., Davis, F. D., & Warshaw, P. R. (1992). Development and test of a theory of technological learning and usage. Human relations, 45(7), 659-686.

Bandura, A. (2001). Social cognitive theory of mass communication. Media psychology, 3(3), 265-299. Bauer, R. A. (1960). Consumer behavior as risk taking. Chicago, IL, 384-398.

Bollerslev, T., Gibson, M., & Zhou, H. (2011). Dynamic estimation of volatility risk premia and investor risk aversion from option-implied and realized volatilities. Journal of econometrics, 160(1), 235-245.

Cunningham, L. F., Gerlach, J. H., Harper, M. D., & Young, C. E. (2005). Perceived risk and the consumer buying process: internet airline reservations. International journal of service industry management.

Hanna, N., Wozniak, R., & Hanna, M. (2017). Consumer behavior: An applied approach. Kendall Hunt publishing Company. 16. McKenzie, J. (1994). From technology refusal to technology acceptance: A reprise.

Pascual-Miguel, F. J., Agudo-Peregrina, Á. F., & Chaparro-Peláez, J. (2015). Influences of gender and product type on online purchasing. Journal of Business Research, 68(7), 1550-1556.

Rogers, E. M. (2010). Diffusion of innovations. Simon and Schuster.

San Martín, S., & Camarero, C. (2009). How perceived risk affects online buying. Online Information

Venkatesh, V., Thong, J. Y., & Xu, X. (2016). Unified theory of acceptance and use of technology: A synthesis and the road ahead. Journal of the association for Information Systems, 17(5), 328-376. Review.