การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนของผลการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง การเขียนเชิงไวยากรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ PPP ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนกับการจัดการเรียนรู้แบบ PPP

Main Article Content

มลฑลี วรานนท์จิราโชติ
เจนวิทย์ วารีบ่อ
สุนิตย์ตา เย็นทั่ว

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้   แบบ PPP ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้  แบบ PPP ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนกับหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ PPP และ 3) ศึกษาความคงทนของผลการเรียนรู้ในกลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้แบบ PPP ร่วมกับเทคนิคเพื่อช่วยเพื่อน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสฤษดิเดช จังหวัดจันทบุรี จำนวน 79 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย กลุ่มทดลอง   40 คน และกลุ่มควบคุม 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ PPP ร่วมกับเทคนิค เพื่อนช่วยเพื่อน แผนการจัดการเรียนรู้แบบ PPP และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ


            ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ PPP ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ PPP ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ PPP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการการจัดการเรียนรู้แบบ PPP ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน มีความคงทนของผลการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : โครงการสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงฯ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

กาโสม หมาดเด็น. (2559). ความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษและจัดการเรียนการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ). สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : โครงการสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

ชนิภรณ์ ภู่มณี และทรงศรี สรณสถาพร. (2560). “การศึกษาการเรียงลำดับของอัตถภาคและการใช้ภาษาในบทคัดย่อของบทความปริทัศน์ในสาขาวิชาสัตว์ทดลอง.” วารสารฉบับภาษาไทย คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ภาษาปริทัศน์ ฉบับที่ 32 : 4

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2554). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. พิษณุโลก : บั๊วกราฟฟิค.

วิไล ผิวมา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความความกังวลของผู้เรียนและผลสัมฤทธิ์ของการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาที่เรียนในวิชาการเขียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. รายงานวิจัย ศศ.ด. (ภาษาอังกฤษ). เลย : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ช่วงชั้นที่ 2 ประถมศึกษาปีที่ 6. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http//www.niests.or.th. 25 กุมภาพันธ์ 2563.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ช่วงชั้นที่ 2 ประถมศึกษาปีที่ 6. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http//www.niests.or.th. 25 กุมภาพันธ์ 2563.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ช่วงชั้นที่ 2 ประถมศึกษาปีที่ 6. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http//www.niests.or.th. 25 กุมภาพันธ์ 2563.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ช่วงชั้นที่ 2 ประถมศึกษาปีที่ 6. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http//www.niests.or.th. 25 กุมภาพันธ์ 2563.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ช่วงชั้นที่ 2 ประถมศึกษาปีที่ 6. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http//www.niests.or.th. 25 กุมภาพันธ์ 2563.

สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ระดับชั้นประถมศึกษา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : file:///C:/Users/ACER/Downloads/CEFR%20Manual%20for%20Primary%20Level 2%20(1).pdf. 25 กุมภาพันธ์ 2564.

De Smedt, F., & Van Keer, H. (2020). Fostering Writing in Upper Primary Grades: A Study into the Distinct and Combined Impact of Explicit Instruction and Peer Assistance. [online]. available : https://biblio.ugent.be/publication/8534913/file/8534916. 8 December 2020.

Devin Kearns. (2017). An Overview of a Scientifically-researched Educational Program Developed at Vanderbilt University. [online]. available : http://oregonreadingfirst.uoregon.edu/ downloads/ brown_bags/brown_bag_3_19_10_pals.pdf. 27 September 2020.

Jdia Mohamed. (2021). The Impacts of Peer-Assisted Learning on Students’ Academic Performance: Moroccan EFL University Students as a Case Study. 45(2) : 38-42.

Seema Daud, Syeda Kauser Ali. (November 2016). “Perceptions of Learners about Peer Assisted Learning and Lectures.” International Journal of Science and Research (IJSR). 3(11) : 1449.