อุดมการณ์ “ความเป็นแม่บ้าน” ในนิตยสารแม่บ้านช่วงปี 2520-2562

Main Article Content

เจรจา บุญวรรณโณ
วิมลมาศ ปฤชากุล

บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อุดมการณ์ “ความเป็นแม่บ้าน” ในนิตยสารแม่บ้าน ช่วงปี 2520-2562  เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาผ่านตัวบทเนื้อหาคอลัมน์ และเนื้อหางานโฆษณา ในนิตยสารแม่บ้านตั้งแต่เริ่มต้นผลิตจนสิ้นสุดการผลิต รวม 43 ปี 602 ฉบับ โดยข้อมูลที่เลือกนำมาวิเคราะห์คือตัวบทที่เป็นภาษาเขียนในงานโฆษณาและบทความ ที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับแม่บ้าน จากมุมมองของแม่บ้านและกลุ่มบุคคลที่มีปฏิสัมพันธ์กับแม่บ้าน ผ่านกลวิธีทางภาษาที่สะท้อนอุดมการณ์ “ความเป็นแม่บ้าน” ในแต่ละช่วงทศวรรษ ตั้งแต่ปี 2520-2562 จากบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งแฝงอยู่ในตัวบทที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และอาจถูกมองข้ามไป ด้วยการนำมา “วิพากษ์” ตามแนวคิดของแฟร์คลัฟ 


            ผลการวิจัยพบว่า  อุดมการณ์ “ความเป็นแม่บ้าน” ที่สะท้อนผ่านกลวิธีการใช้ภาษาในนิตยสารแม่บ้าน ช่วงปี 2520-2562 มี 4 อุดมการณ์ ดังนี้คือ 1) อุดมการณ์ปิตาธิปไตย สะท้อนถึงสิ่งที่สังคมคาดหวังให้ผู้หญิงคือแม่บ้าน ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของผู้ชายผู้เป็นสามี เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวพึงใจและมีความสุข  2) อุดมการณ์บริโภคนิยม เป็นอุดมการณ์อันพึงประสงค์ชองแม่บ้าน  ที่ต้องการใช้วัตถุสิ่งของต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการสร้างคุณค่าของความเป็นแม่บ้านอันพึงประสงค์  3) อุดมการณ์สตรีนิยม เป็นอำนาจความสะดวกสบายทำให้เกิดความคล่องตัวที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้ตามความพึงพอใจ จากการเลือกตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองได้มากขึ้นของแม่บ้าน และ 4) อุดมการณ์ตามนโยบายของรัฐบาล ปรากฏให้เห็นว่า แม่บ้านมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ ให้เจริญรุ่งเรืองได้  แม่บ้านจึงนับเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญของสังคมไทย  ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพ่อบ้านหรือผู้ชาย ณ ขณะนั้น และรวมถึงในปัจจุบัน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนกพร อังศุวิริยะ. (2551). “ความเป็นผู้หญิง” นิตยสารสกุลไทย (พ.ศ. 2491-2539): การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ . วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐณิชา นาคงเมือง. (2547). กระบวนการสร้างกระแสการออกกำลังกายผ่านสื่อมวลชนของกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทพี จรัสจรุงเกียรติ. (2549). “ฉลาด สวย รวย เก่ง: การสร้างคุณค่าเชิงสัญญะผ่านเรื่องเล่าในโฆษณาของนิตยสารผู้หญิงไทย”. จันทิมา เอียมานนท์ และกฤษฎาวรรณ หงส์ลดารมณ์ (บรรณาธิการ). ใน พลวัตของภาษาไทยปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2550). รายงานเศรษฐกิจและการเงิน ปี 2550. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย นิตยสารสุภาพนารี. (2473). 1(2). 68-69.

ปรีดา เหตระกูล. (2520, ตุลาคม; พฤศจิกายน). นิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: แม่บ้าน. ฉบับที่ 1, 2.

ปรีดา เหตระกูล.(2525, กันยายน; ธันวาคม). นิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: แม่บ้าน. ฉบับที่ 111

ปรีดา เหตระกูล.(2527, มิถุนายน; ธันวาคม). นิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: แม่บ้าน. ฉบับที่ 149, 153.

ปรีดา เหตระกูล.(2531, ตุลาคม). นิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: แม่บ้าน. ฉบับที่ 233.

ปรีดา เหตระกูล.(2534, กุมภาพันธ์; ตุลาคม; พฤศจิกายน). นิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพฯ: แม่บ้าน. ฉบับที่ 261, 269, 270.

ปรีดา เหตระกูล.(2541, เมษายน; ธันวาคม). นิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: แม่บ้าน. ฉบับที่ 149, 153.

ปรีดา เหตระกูล.(2542, มิถุนายน). นิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: แม่บ้าน. ฉบับที่ 361.

ปรีดา เหตระกูล. (2545, มกราคม). นิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: แม่บ้าน. ฉบับที่ 392.

ปรีดา เหตระกูล. (2550, มกราคม). นิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: แม่บ้าน. ฉบับที่ 452.

ปรีดา เหตระกูล.(2551, มีนาคม). นิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: แม่บ้าน. ฉบับที่ 466.

ปรีดา เหตระกูล.(2555, กรกฎาคม). นิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: แม่บ้าน. ฉบับที่ 518.

ปรีดา เหตระกูล.(2560, กุมภาพันธ์). นิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: แม่บ้าน. ฉบับที่ 573.

ปรีดา เหตระกูล.(2561, มีนาคม). นิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: แม่บ้าน. ฉบับที่ 586.

ปรีดา เหตระกูล.(2562, กันยายน). นิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: แม่บ้าน. ฉบับที่ 602.

พุฒิพร ลีลานิตย์กุล. (2554). การศึกษาพัฒนาการของนิตยสารอาหาร: กรณีศึกษานิตยสารแม่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิสันต์ สุขวิสิทธิ์. (2557). ผู้หญิงในโลกผู้ชาย: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ความเป็นผู้หญิง ในนิตยสารผู้ชายตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยฟ้าหลวง.

เสนาะ เจริญพร. (2546). ภาพเสนอผู้หญิงในช่วงทศวรรษ 2530: วิเคราะห์ความโยงใยกับประเด็นสังคม. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุคนธรัตน์ สร้อยทองดี. (2552). การนำเสนออุดมการณ์ความเป็นแม่ในวาทกรรมโฆษณา ในนิตยสารเกี่ยวกับ ครอบครัว. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา. (2537). “แนวพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับสังคมไทย พ.ศ. 2468-2475”. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่อง “สังคมไทยสมัยรัชสมัยพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว”. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.