การพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์ผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการซ่อมแซมเสื้อผ้า วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

โสธร เจริญพร
ธนะวัฒน์ วรรณประภา
นคร ละลอกน้ำ
ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์ผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการซ่อมแซมเสื้อผ้าวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อประเมินทักษะการซ่อมแซมเสื้อผ้าด้านการเนา การด้น และการสอย วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อปฏิสัมพันธ์ผสมผสาน เพื่อพัฒนาทักษะการซ่อมแซมเสื้อผ้า วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนสายมิตรศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 30 คน ใน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมปฏิสัมพันธ์แบบผสมผสาน 2) แบบประเมินทักษะ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบประสิทธิภาพ E1/E2 = 80/ 80


           ผลการวิจัย พบว่า 1) สื่อปฏิสัมพันธ์ผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการซ่อมแซมเสื้อผ้า วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.20/ 82.80 2) นักเรียนมีทักษะการซ่อมแซมเสื้อผ้าอยู่ในระดับเชี่ยวชาญ และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมปฏิสัมพันธ์แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาทักษะการซ่อมแซมเสื้อผ้า วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.11)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2564). การประเมินตามสภาพจริงและเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค. เข้าถึงได้จาก

http://academic.rmutsv.ac.th/sites/academic.rmutsv.ac.th/files/05.pdf

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). การศึกษาทางไกลกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 1-20.

ธนทรัพย์ โกกอง. (2563). การพัฒนาชุดฝึกอบรมออนไลน์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติงาน สำหรับนิสิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: ปกเจริญผล.

โรงเรียนสายมิตรศึกษา. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน พ.ศ. 2562. ปราจีนบุรี: โรงเรียนสายมิตรศึกษา.

วาทิตย์ สมุทรศร. (2561). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6. NRRU Community Research Journal, 12(2), 229-241.

ศิริประภา วงษ์คำนา. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง ไวยากรณ์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). การจัดการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุกัญญา บุญอิ่ม. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง คู่อันดับและกราฟ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

สุจิรา มีทอง. (2563). มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์. เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/611736

อุดม พรหมจรรย์. (2556). การพัฒนาทักษะการแสดงโดยใช้บทเรียนวีดิทัศน์ เรื่อง การแสดงเถิดเทิงกลองยาว

ที่สระกระโจม จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

Horn, B. M., & Staker, H. (2011). The Rise of K-12 blended learning. Unpublished Paper: Innosight Institute.

Seel, B. B., & Grasgow, R. C. (1998). Instructional technology: The definition and domain of the field. Washington, DC.: Association for educations for communication and technology.