โมเดลความสุขของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน กรณีศึกษาสายการบินต้นทุนต่ำและสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบในประเทศไทย

Main Article Content

สมพงษ์ อัศวริยธิปัติ

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการความสุขของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ของสายการบินต้นทุนต่ำและสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบในประเทศไทย 2) กำหนดโมเดลความสุข ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางการจัดการความสุขของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ของสายการบินต้นทุนต่ำและสายการบินเต็มรูปแบบในประเทศไทย โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบและสายการบินต้นทุนต่ำในเส้นทางภายในประเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเสนอโมเดลความสุขคือการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผลของการศึกษาพบว่า


โมเดลความสุขของพนักงานต้อนรับบนเที่ยวบินกรณีสายการบินต้นทุนต่ำนั้นมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) กิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน 2) การสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ในการทำงาน 3) การสื่อสารข้อมูลที่เพียงพอและเหมาะสม 4) การสร้างความสมดุลของชีวิตการทำงานกับชีวิตครอบครัว  5) การบริหารค่าตอบแทนที่เหมาะสม 6) การบริหารสภาพแวดล้อมในการทำงาน


ส่วนโมเดลความสุขของพนักงานต้อนรับบนเที่ยวบินของสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบมี 5 องค์ประกอบดังนี้  1) การกำหนดเส้นทางอาชีพที่ชัดเจนให้กับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 2) กิจกรรมเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างพนักงานประจำปี 3) บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานทั้งจากเพื่อนร่วมงานและผู้บริหารสายการบิน 4) การสร้างความภาคภูมิใจในอาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 5) การกำหนดตารางเวลาในการทำงานที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตครอบครัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งพร ทองใบ. (2563). ประมวลสาระชุดวิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์.

หน่วยที่ 9 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2554). วิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: คอมม่าดีไซน์ แอนด์พริ้นท์ จำกัด.

จุฑามาศ แก้วพิจิตร. (2557). โมเดล “เป็น อยู่ คือ” โมเดลเพื่อการสร้างความสุขในการทำงานแบบไทย ๆ.

HROD Journal. 6(1): 39-56.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์ และธีรวัฒน์ จันทึก. (2559). ความสุขในการทำงาน : ความท้าทายของการ

จัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมบริการ. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์. 18(2): 113-126.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 29(2), 31-48.

ภาวิน ชินะโชติ ทองฟู ศิริวงศ์และภาณุ ชินะโชติ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานก่อนวัยเกษียณอายุในอุตสาหกรรม จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12(2): 319-334.

วอยซ์ทีวีออนไลน์. (2561). วิจัยชี้ “แอร์โอสเตส” เสี่ยงป่วยมะเร็งกว่าอาชีพอื่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

https://voicetv.co.th/read/BJX_mnkzQ

วัชรินทร์ อนันตพงศ์และรวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2562). ภาวะเครียดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในการทำงานร่วมกับสายการบินต่างชาติ. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10. หน้า 681-689.

วิริยาภรณ์ แก้วเกิด พรรัตน์ แสดงหาญและอภิญญา อิงอาจ. (2560). การดำเนินงานเพื่อสร้างความสุขและความผูกพันของพนักงานในองค์กรสุขภาวะต้นแบบ. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี. 1(2), 13-29.

ศรีธนา บุญญเศรษฐ์. (2563). ประมวลสาระชุดวิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์. หน่วยที่ 14 การจัดการแรงงานสัมพันธ์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สาคร สมเสริฐ. (2561). ทางแห่งการทำงานอย่างมีความสุข. วารสารนักบริหาร. 38(1): 3-10.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://www.nesdb.go.th/article_attach/Book_Plan12.pdf.

อนุรักษ์ เรืองรอบ. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในภาคตะวันออกของไทย. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 14(2): 5-11.

อุมาวรรณ วาทกิจ. (2560). ปัจจัยสำคัญเป็นองค์กรแห่งความสุข กรณีศึกษาธุรกิจโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 17(3): 121-131.

Nastasi, B.K. & Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of School Psychology. 43(3): 177-195.

Noe, Raymond A., Hollenback, John R.; Gerhest, Barry and Wright, M. (2014). Fundamentals of Human Resource Management. (5th ed.). McGraw-Hill International Edition.