การสำรวจรูปแบบการเลี้ยงและการจัดการฟาร์มโคเนื้อ ในอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เพื่อสำรวจรูปแบบการเลี้ยงและการจัดการฟาร์มโคเนื้อในอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ในภาคตะวันออกของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ ฟาร์มโคเนื้อ จำนวน 31 ฟาร์ม เก็บข้อมูลจากการใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับข้อมูลจากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอวัฒนานคร ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีประสบการณ์การเลี้ยงน้อยกว่า 2 ปี ทุกฟาร์มมีวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงเพื่อจำหน่ายโครุ่น พันธุ์โคเนื้อที่นิยมใช้เป็นพ่อพันธุ์คือ ลูกผสมบราห์มันกับชาร์โรเลส์ และที่นิยมใช้เป็นแม่พันธุ์คือ ลูกผสมพื้นเมืองกับบราห์มัน และลูกผสมบราห์มันกับชาร์โรเลส์ เกษตรกรนิยมวิธีการผสมเทียมให้แก่โคแม่พันธุ์ แม่พันธุ์มีอายุในการผสมครั้งแรก 18 เดือน มีอัตราการให้ลูกเฉลี่ย 1 ตัวต่อปี รูปแบบการเลี้ยงส่วนมากเป็นการเลี้ยงในโรงเรือน ใช้แหล่งน้ำจากน้ำผิวดินและน้ำบาดาล มีการจัดทำแปลงหญ้ามากกว่าร้อยละ 60 ให้อาหารหยาบในรูปแบบของหญ้าสด ไม่มีการเสริมอาหารข้น มีโปรแกรมการทำวัคซีนป้องกันปากเท้าเปื่อยทุก 6 เดือน โคเนื้อจะถูกขายในรูปแบบมีชีวิตโดยใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 18 เดือนขึ้นไป และเมื่อมีการส่งเสริมโครงการโคบาลบูรพาของกรมปศุสัตว์ทำให้เกษตรกรให้ความสำคัญของพันธุ์ลูกผสมและการจัดการแปลงหญ้าเพิ่มมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมปศุสัตว์. (2560). ข้อมูลจำนวนปศุสัตว์ในประเทศไทยปี 2560. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมปศุสัตว์. (2563). ข้อมูลจำนวนปศุสัตว์ในประเทศไทยปี 2563. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ชฎารัตน์ บุญจันทร์. (2552). ระบบเกษตรและสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นเมืองและโคเนื้อลูกผสม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ณฤทธิ์ ไทยบุรี, สุนีย์ ตรีมณี, ประจักร เทพคุณ และสมนึก ลิ่มเจริญ. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการเลี้ยงโคเนื้อปล่อยฝูงและแบบขังคอกของเกษตรกรในจังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 12(2): 277-288.
ณัฐพันธุ์ กันธิยะ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรโครงการระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่โคเนื้อ กรณีศึกษาอำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน. รายงานการวิจัย. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดน่าน.
ทรงศักดิ์ เทพหนู. (2552). การศึกษาสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ถาวร ฉิมเลี้ยง และพรชัย เหลืองวารี. (2559). การศึกษาสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 10(3): 73-80.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อโคบาลบูรพาจังหวัดสระแก้ว. เอกสารวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร เลขที่ 107 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สุรีย์พร แสงวงศ์, วีรนุช ทันนิธิ, จักรกฤษ วิชาพร และพยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา. (2563). การศึกษาสภาพการเลี้ยง การประเมินปัญหาและโอกาสในการผลิตโคเนื้อคุณภาพของเกษตรกรจังหวัดแพร่. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 38(2): 254-262.
Prapatigul, P., & Sreshthaputra, S. (2021). Technology transfer of beef cattle raising for productivity improvement based on intensive farming of beef cattle raising group in Pua District, Nan Province. International Journal of Agricultural Technology. 17(1): 305-316.
Sodiq, A., Yuwono, P., Sumarmono, J., Santosa, S.A., Wakhidati, Y.N., Fauziyah, F.R., Rayhan, M., Sidhi, A.H., & Maulianto, A. (2019). Improving beef cattle production system for sustainable rural development in Central Java. AIP Conference Proceeding. 2094(1): 020028.