ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

วรันธร อรรคปทุม
เสาวนีย์ เจียมจักร

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และเปรียบเทียบผลการใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีระหว่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 2 หมู่เรียน เป็นกลุ่มทดลอง 1 หมู่เรียน จำนวน 27 คน และกลุ่มควบคุม 1 หมู่เรียน จำนวน 27 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดมนุษยสัมพันธ์ของนักศึกษาครู และโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ของนักศึกษาครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ Independent-Sample t-test และ Paired-Sample t-test


ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนมนุษยสัมพันธ์ของนักศึกษาครูสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


       ผลการทดสอบสมติฐานพบว่า นักศึกษาที่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีมนุษยสัมพันธ์เพิ่มขึ้น และนักศึกษาที่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีมนุษยสัมพันธ์สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2557). คู่มือการจัดกิจกรรมโฮมรูม เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา

สำหรับครูที่ปรึกษา ชุด “ปรับตัว ปรับใจ ตามวัยสดใส”. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทย จำกัด.

ครุศาสตร์ รำไพพรรณี. (ม.ป.ป.). พันธกิจคณะครุศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564. เข้าถึงได้จาก

http://www.edu.rbru.ac.th/edu_from6.php

คุรุสภา. (2556) มาตรฐานการปฏิบัติตน. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564 เข้าถึงได้จาก :

http://www.ksp.or.th/ksp2013/content/view.php?mid=136&did=254&tid=3&pid=6

จุรีรัตน์ พันสอน. (2560). คุณลักษณะครูที่ปรึกษาตามความต้องการของนักเรียนโรงเรียนหันห้วยทรายพิทยาคม สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์และคณะ. (2551). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน.

(พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุษบง ธัยมาตร. (2560) การสร้างมนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงาน Human Relationships. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6 (ฉบับพิเศษ เมษายน-มิถุนายน): 353 -368

ประภักดิ์ กันหาชิน. (2544). ผลของกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อการปฎิบัติตนกับเพื่อนต่างเพศของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิตจิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พนม ลิ้มอารีย์. (2542). การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม. มหาสารคาม ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2553). มนุษยสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ . สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2564 เข้าถึงได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/068/T_0018.PDF

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2556. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

ลักขณา สริวัฒน์. (2556). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

วิภาพร มาพบสุข. (2543). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

โศภิตา เถนว้องและจินตนา สรายุทธพิทักษ์. การจัดโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อสร้างเสริมมนุษยสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา Management of a Group Dynamic Activities Program to Enhance Human Relations for Elementary School Students. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47 (ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน): 369-388.

สมุทร ชํานาญ. (2556). ภาวะผู้นําทางการศึกษา ทฤษฎีและปฏิบัติ. ระยอง: พี. เอส. การพิมพ์.

สุภาวดี กิจประเสริฐ. (2550). รายงานผลการใช้โปรแกรมการพัฒนานักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในการคบเพื่อน ต่างเพศไม่เหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา. ส่านักงานเขตพื้นที่

การศึกษานครปฐม เขต 2.

อัญชิสา สุรีย์แสง.(2553). การใช้กิจกรรมพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนอรุณประดิษฐจังหวัดเพชรบุรี. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw – Hill Book Company