ความสัมพันธ์ระหว่างการบรรเลงซอสามสายกับคีตศิลป์ไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างการบรรเลงซอสามสายกับคีตศิลป์ไทย” ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งในวัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการบรรเลงซอสามสายกับคีตศิลป์ไทย ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอเชิงพรรณนา ศึกษาจากข้อมูลเชิงเอกสาร ข้อมูลสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ นำข้อมูล
มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ตามวัตถุประสงค์งานวิจัย
ผลการวิจัย สรุปว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการบรรเลงซอสามสายกับคีตศิลป์ไทย มีความสัมพันธ์กัน 5 มิติ
คือ จังหวะ ลูกตก ขอบเขตเสียง ทิศทางทำนอง และการเลียนเสียง การบรรเลงที่สัมพันธ์กับคีตศิลป์ไทยมากที่สุด คือ การคลอร้อง ซึ่งเป็นรูปแบบการบรรเลงที่จะต้องบรรเลงไปพร้อมกับการขับร้อง โดยบรรเลงใกล้เคียงกับทางขับร้องและบรรเลงไปตามทางร้อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศิลปากร. (2533). 100 ปี พระยาอนุมานราชธน งานนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ของ ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน หมวดศิลปะและการบันเทิง เล่มที่ 1 เรื่องรวมเรื่องศิลปะและการบันเทิง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
กรมศิลปกร. (2545). คำบรรยายดุริยางคศาสตร์ไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
พิชิต ชัยเสรี. (2559). สังคีตลักษณ์วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สงบศึก ธรรมวิหาร. (2545). ดุริยางค์ไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.