การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน

Main Article Content

ธีรพงษ์ จันเปรียง
เจนวิทย์ วารีบ่อ
อติราช เกิดทอง

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตามช่วงเวลาของการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน 4) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กับการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน 5) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน


             ผลการวิจัย 1) ผลการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) พบว่า หลังเรียน นักศึกษามีคะแนนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 77.08 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก และผลการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน พบว่า นักศึกษามีคะแนนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 75.94 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม พบว่า หลังจากเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es)  นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม พบว่า หลังจากเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการเปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ยของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และกลุ่มที่เรียนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน พบว่า นักศึกษากลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) กับกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน ไม่แตกต่างกัน 5) ความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) พบว่า ด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ ความพึงพอใจต่อผลที่ได้รับจากการเรียนการสอน รองลงมา คือ ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในการเรียน และความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน พบว่า ด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ ความพึงพอใจต่อผลที่ได้รับจากการเรียนการสอน รองลงมา คือ ความพึงพอใจต่อกระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทรูปลูกปัญญา. (2564). กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ( 5 STEPs). [online] เข้าถึงได้จาก :https://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/news/23289. 5 พฤษภาคม 2564.

ปรียาดา ตาปิงแก้ว. (2562). กระบวนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ 5 steps GOCQF. [online]. เข้าถึงได้จาก :https://inskru.com/idea/-MQ2Yn4XrqsjDF9SlslH. 28 พฤษภาคม 2562.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2558). การโค้ชเพื่อการรู้คิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ผู้นำพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างจิตนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Budnitz, N. (2003). What do we mean by inquiry?. [online]. Available : http://www.biology.duke.edu/cibl/inquiry/what_is_inquiry.htm. 24 October 2019.

Cohen, D., et al. (1988) The production of Macrobrachium rosenbergii in monosex populations. III. Yield characteristics

under intensive monoculture conditions in earthen ponds. Israeli Journal of Aquaculture-Bamidgeh,

, (2) 57-63.

Curran, P. J., & Finch, J. F., (1997). The robustness of test statistics to nonnormality and specification error in confirmatory

factor analysis. Psychological Methods, 1(1), 16–29.

Guildford, J. (1967). Creativity: Yesterday, today, and tomorrow. The Journal of Creative Behavior, 1, (1) 3–14.

Hopkins, C.D., Antes, R.L. (1990). Classroom Measurement and Evaluation. 3rd ed. Itasc, IL : F.E. Peacock.

Partnership for 21st century skills. (2009). Professional Development: A 21st Century Skills Implementation Guide.

Tucson : Partnership for 21st century skills Organization.