การพัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการต่อการเสริมสร้าง กรอบความคิดแบบเติบโตของนักศึกษา คณะครุศาสตร์

Main Article Content

อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์
หทัยชนก อินลบ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการต่อ  การเสริมสร้างกรอบความคิดแบบเติบโตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ชั้นปีที่ 1-3 ประจำปีการศึกษา 2564 (ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป) จำนวน 303 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยความคลาดเคลื่อน .05 ของยามาเน (Yamane, 1970: 580-581) กลุมตัวอย่างได้มาจากวิธีการ สุมแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random sampling) และเก็บข้อมูลของผู้ตอบแบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโต ด้วยแบบบันทึกการติดต่อล็อกบุ๊ค (Logbook) หลังจากนั้นนำคะแนนกรอบความคิดแบบเติบโตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มาจัดลำดับ (Ranking) จากมากไปหาน้อย โดยเลือกคะแนนกรอบความคิดแบบเติบโตตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมาและผู้วิจัยตรวจสอบคุณสมบัติร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาประจำหมู่เรียนของนักศึกษา รวมถึงสอบถามความสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 16 คน มีการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ F-test ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบพหุที่มีการวัด (One-way repeated measurement ANOVA) 


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมกรอบความคิดแบบเติบโตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญา ประกอบด้วย เทคนิคการอธิบายโดยตรง เทคนิคการจินตนาการ เทคนิคการตั้งคำถาม เทคนิคการฝึกทักษะ เทคนิคการประเมินความคิดและการปรับความคิด เทคนิคการฝึกสอนตนเอง เทคนิคการเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา เทคนิคการมอบหมายงานให้ทำ การเสริมแรงทางบวก และเทคนิคต่าง ๆ ของ การปรึกษากลุ่ม โดยโปรแกรมได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และมีการทดลองใช้ก่อนนำไปใช้จริง ขั้นตอนการปรึกษาประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุป

  2. กรอบความคิดแบบเติบโตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการมีค่าเฉลี่ยคะแนนกรอบความคิดแบบเติบโต เพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. กรอบความคิดแบบเติบโตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการมีค่าเฉลี่ยคะแนนกรอบความคิดแบบเติบโต ระยะหลังการทดลองและหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ไชยพันธุ์. (2549). การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

กอบแก้ว บุญบุตร. (2563). การเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตของนักเรียนวัยรุ่นด้วยโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีพฤติกรรมทางปัญญาร่วมกับกิจกรรมกลุ่มพัฒนาความคิด. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดุษฎี เล็บขาว. (2559). การพัฒนาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่นโดยการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2546). ความหมายและความสำคัญของการให้บริการปรึกษาเป็นกลุ่ม. ประมวลสาระวิชาประสบการณ์วิชาชีพมหาบัณฑิต หน่วยที่ 1-6. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย: วัยรุ่น-วัยสูงอายุ (เล่ม 2) (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมร สามารถ. (2560). ผลการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการปรับพฤติกรรมทางปัญญาต่อการกำกับอารมณ์ของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สามารถ มังสัง. (2559). การศึกษาของชาติ: ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ. [online]. เข้าถึงได้จากhttp://www.manager.co.th/daily/viewnews.aspx?NewsID=9590000091649. 2563.

อนงค์ วิเศษสุวรรณ์. (2554). การปรึกษากลุ่ม (พิมพ์ครั้งที่ 3). ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Baker, J.L. (2017). Growth Mindset and Its Effect on Math Achievement. Capstone Projects and Master’s These.

Corey, G. (2004). Theory and Practice of Group Counseling. 6th ed. California : Thomson Brook/cole lnc.

Corey, G. (2005). Theory and Practice of Counseling and Psychotherapy. 7th ed. International Student Edition. California : Thomson Brooks/Cole lnc.

Corey, G. (2009). Esparza, J., Shumow, L., & Schmidt, J.A. (2014). Growth Mindset of Gifted Seventh Grade Students in Science. NCSSSMST Journal, 19(1), 6-13.

Corey, G. (2012). Theory and practice of group counseling (8th ed.). Belmont, CA : Brooks/ Cole, Cengage Learning.

Judd, F. (2017). Growth Mindset and Adult Learners in Higher Education. Paper presented at the Global Conference on Education and Research (GLOCER 2017).

Yamane, Taro.1973. Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ED). New York : Harper and Row Publication.