การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนสร้างสรรค์ของโรงเรียน อันวารุ้ลอิสลาม สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

Main Article Content

กัลยาณี เจริญช่าง นุชมี
พัชรา เดชโฮม

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนสร้างสรรค์ของโรงเรียนอันวารุ้ลอิสลาม สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในองค์ประกอบ 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านนโยบาย 2) ด้านการบริหารจัดการ 3) ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 4) ด้านหลักสูตรและการสอน 5) ด้านการพัฒนาครู 6) ด้านมาตรฐานและการประเมินผล และ 7) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนอันวารุ้ลอิสลาม สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


             ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนสร้างสรรค์ของโรงเรียนอันวารุ้ลอิสลาม สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนตามองค์ประกอบ 7 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการพัฒนาครู และด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการพัฒนาครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน และด้านมาตรฐานและการประเมินผล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร สังข์ทอง. (2565). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชนโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดสุนทรสถิต)ในพระราชูปถัมภ์ฯ. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(1): 174-186

ฐิติพร รุ่งเช้า. (2564). การพัฒนารูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ). วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ. 4(2): 495-507.

ทรงศักดิ์ ชาวไพร. (2564). แนวทางการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 8(2): 525-543.

เทพสุดา เมฆวิลัย. (2564). ความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะหลักของนักเรียนโรงเรียนสร้างสรรค์. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 8(1): 145-157.

โรงเรียนอันวารุ้ลอิสลาม. (2563). รายงานผลการประเมินตนเองสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนอันวารุ้ลอิสลาม.

สมาน ถาวรรัตนวณิช. (2564). การพัฒนารูปแบบการประเมินความคิดสร้างสรรค์ผ่านการทําโครงงานนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 27(1): 324-339.

อุบล หนูฤกษ์. (2564). รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างสรรค์เป็นฐานโรงเรียนในเครือข่ายเกาะพะงัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วารสารสมาคมนักวิจัย. 26(1): 328-341.

Naser, Fathi Mohammed Abu. (2020). Exploring Perceptions of Education Experts Regarding "Creative School" and Its Leadership Role in Public Education. International Education Studies. 13(5): 132-143.

Suheir, Sulieman Sabbah, (2017). The Role of Leadership in the Development of the Creative School in Palestine. Journal of Education and e-Learning Research, Asian Online Journal Publishing Group. 4(1): 1-7.