การพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูป ประเภทน้ำมันนวดสปา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องหอมเมืองสระแก้ว แบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

วุฒิชัย วิถาทานัง

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อพัฒนาและออกแบบรูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูป ประเภทน้ำมันนวดสปา และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาและออกแบบขึ้นมาใหม่ พื้นที่วิจัยคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องหอมเมืองสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกภายในกลุ่มในการให้ข้อมูล ผู้ทรงคุณวุฒิในการให้ข้อเสนอแนะและประเมินผลการออกแบบ และกลุ่มผู้บริโภค โดยเจาะจงผู้ประกอบการร้านนวดสปา เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่ต่อบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ มีขั้นตอนในการวิจัย คือ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การศึกษาปัญหาและความต้องการ 3) กำหนดแนวทางการพัฒนาและออกแบบ 4) กระบวนการพัฒนาและออกแบบ 5) ประเมินการออกแบบ 6) ศึกษาความพึงพอใจ ที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาและออกแบบขึ้นใหม่ ขอบเขตการออกแบบ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ออกแบบฉลากสินค้าชนิดเจลและชนิดครีม และออกแบบบรรจุภัณฑ์ชนิดเจลและชนิดครีม ผลการวิจัยพบว่า ฉลากสินค้า นำลักษณะใบของสมุนไพรต่าง ๆ มาตัดทอนรายละเอียดให้เป็นภาพลายเส้น เน้นสีที่คลุมโทน เรียบง่าย ไม่ฉูดฉาด การออกแบบรูปแบบบรรจุภัณฑ์ โครงสร้างรูปทรงเป็นเรขาคณิตสี่เหลี่ยม เพื่อให้ผลิตได้ง่าย ใช้งานสะดวกและสามารถนําพาหรือขนส่งและจัดวางได้สะดวก ด้านกราฟฟิกบนบบรจุภัณฑ์ มีอักษรไทยและอังกฤษ ใช้สีแบบธรรมชาติ และมีความเรียบง่าย ภาพลวดลายกราฟิกตัดทอนจากใบสมุนไพรมาประกอบเพื่อสื่อให้เข้ากับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากสมุนไพรธรรมชาติ โดยผลของการศึกษาความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่มีต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นมาใหม่ ภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยคะแนนที่ 4.32

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษมา สุรเดชา และคณะ. (2563). การออกแบบตราสินค้าและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์กล้วยอบเนย ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมูสวรรค์หมูไทยศรีโยธิน. วารสารพิกุล, 18 (1), 219-237.

เกศแก้ว ประดิษฐ์. (2561). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวกล้องพันธุ์ข้าวหอมกระดังงาที่มีผลต่อการตอบรับในเชิงพาณิชย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านบอฆอ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(2), 127-139.

ชุลีกร เทพบุรี และคณะ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการรายย่อย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3 (1), 50-58.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ และคณะ. (2563). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารแปรรูป กลุ่มวิสาหกิจข้าวเตาปูน จังหวัดราชบุรี.วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12 (3), 24-34.

ณัฐกุล ตรีสุริยาแสงโชติ และคณะ. (2561). การศึกษาปัจจัยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทำความสะอาดผิวกายอภัยภูเบศร. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9 (1), 177-194.

ณัฐนันท์ วิริยะวิทย์. (2559). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนปาริชาต เขตมีนบุรีกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21 (1), 143-153.

ประชิด ทิณบุตร, และคณะ. (2559). การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7 (1), 84-94.

ภวัต เจียมจิณณวัตร. (2565). การพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรเพื่อสนับสนุนความได้เปรียบในการ แข่งขันของอุตสาหกรรมการผลิตไม้ผลในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 16 (2), 73-83.

เรวัต สุขสิกาญจน์ และคณะ. (2564). การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์สบู่สมุนไพรแตงกวา กลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนเศรษฐกิจพอพียงในครัวเรือน ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและก่อสร้าง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3 (3), 73-91.

วิชนาถ ทิวะสิงห์. (2562). การออกแบบตราสินค้าเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรอินทรีย์ประเภทชาใบข้าวหอมมะลิไทยสุวรรณ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10 (2), 151-162.

สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร: วาดศิลป์.