ปัจจัยที่กระทบต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี

Main Article Content

เกษม หมั่นธรรม
วีระ ยินดี
วัชนะชัย จูมผา

บทคัดย่อ

             การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่กระทบต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี โดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 และฟิสิกส์ 2 ใน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 118 คน ซึ่งมีนักศึกษาตอบแบบสอบถามกลับมาจำนวน 36 คน  โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้


 1) นักศึกษามีเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษามีเจตคติด้านความสนใจในวิชาฟิสิกส์มากที่สุด (3.9±0.9) และมีเจตคติด้านการวางแผนเรียนต่ำที่สุด (3.4±1.0) 


2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก   โดยนักศึกษาพึงพอใจด้านความรู้ความสามารถของอาจารย์ผู้สอนมากที่สุด (4.13±0.82) และมีความพึงพอใจต่อการวัดและการประเมินผลต่ำที่สุด (3.79±0.84)


3) นักศึกษามีความพึงพอใจสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนในรายวิชาฟิสิกส์โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (4.05±0.79) โดยนักศึกษาให้คะแนนความพึงพอใจด้านการให้บริการด้านข้อมูลสารสนเทศเพื่อการค้นคว้ามากที่สุด นักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาต่างกันมีความ คิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งสามด้านไม่แตกต่างกัน (P³0.05)


           โดยสรุปการศึกษาครั้งนี้ปัจจัยทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรายวิชาวิชาฟิสิกส์1 และฟิสิกส์ 2 ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร โดยนักศึกษามีความพึงพอใจด้านอาจารย์ผู้สอนมากที่สุดตามด้วยด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และด้านผู้เรียน ตามลำดับ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้คือ ศึกษาเฉพาะบางตัวแปรเท่านั้นดังนั้นควรจะมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆ หรือปัจจัยที่คาดว่าน่าจะมีผลต่อผลสัมฤทธิ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศ์ึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

ฝ่ายทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี. (2558). ผลการเรียนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี. เอกสารไม่ตีพิมพ์.

พิศิษฐ์ ชำนาญนา. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน คณะวิชาการตลาดวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี สังกัดสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

มาลี จุฑา. (2542). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.

ยุภา ตันติเจริญ. (2531). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในชนบท. วารสารคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาสหประชาชาติ, 20(3),401.

รุ่ง แก้วแดง. (2543). การปฏิรูปการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติในการปฏิรูปการศึกษา: แนวคิด และหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

รุ่งระวี ศิริบุญนาม. (2551). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง กรด-เบส และเจตคติต่อการเรียนเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น การเรียนรู้แบบ KWLและการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รุจิราพรรณ คงช่วย. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 37 (2) 289-308.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). คู่มือครููชั้นมัธยมศ์ึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรูกลุมวิทยาศาสตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (2552 – 2561). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุขฤกษ์ ดีโนนโพธิ์. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สุพิชญ์กฤตา พักโพธิ์เย็น. (2559). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Adadan, E., Irving, K. E. and Trundle, K. C. (2009). “Impacts of multi-representational instruction on high school students’ conceptual understandings of the particulate nature of matter”, International journal of science education. 31(13): 1743-1775.

Cracker, D. (2006). “Attitudes towards science of Students enrolled in Introductory Level Science Courses”. UW-L Journal of Undergraduate Research IX, 1-6.

Feynman, R. P., Leighton, R. B., Sands, M. (1963). The Feynman Lectures on Physics, ISBN 0-201-02116-1 Hard-cover. vol. I p. I-2.

Freeman, S., Eddy, S. L., McDonough, M., Smith, M. K., Okoroafor, N., Jordt, H., et al. (2014). Active learning increases student performance in science, engineering and mathematics. Proceedings of the National Academy of Sciences, 111(23),8410-8415.

Guido, R.M. (2013). Attitude and Motivation towards Learning Physics. International Journal of Engineering Research & Technology (IJERT). Vol. 2 Issue 11, November – 2013.

Havighurst, R. J. (1953). Human Development and Education. Oxford: Longmans, Green.

Klausmeir, H.J. (1961). Learning and Human Abilities : Education Psychology . New York. : Harper & Brother S. Peck, R.F. and Havighurst. R.J. 1963.

Prescott, D. A. (1961). Report of Conferences on Child Study. Education Bullatin. Faculty of Education, Chulalongkorn University. อ้างใน สนธยา เขมวิวัฒน์. 2542. ตัวแปรบางประการที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สายวิชาบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพาณิชการพระนคร. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Sohn, Changsoo, & Tadisina, Suresh K. (2008). Development of e-service quality measure for internet-based financial institutions. Total Quality Management & Business Excellence. 19(9), pp. 903-918.

Sun, Pei-Chen, Tsai, Ray J., Finger, Glenn, Chen, Yueh-Yang, & Yeh, Dowming. (2007). What drives a successful e-learning? An empirical investigation of the critical factors influencing learner satisfaction. Computers & Education.50(4), pp. 1183-1202.