การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 2) หาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 58 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนออนไลน์รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบบประเมินความเหมาะสมของบทเรียนออนไลน์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า
- 1. บทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.57, S.D. = 0.14 )
- 2. ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีค่าเท่ากับ 22/82.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
- 3. ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมืออยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.56 , S.D. = 0.17)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขวัญชัย ขัวนา และธารทิพย์ ขัวนา. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ รายวิชาการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสารมหาจุฬานาคร ทรรศน์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 (ธันวาคม): 295 – 306.
ธงชัย แกละมงคล. (2560). การพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่องการออกแบบกราฟิกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีต่อความสามารถในการออกแบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์ประชาอุทิศพิทยาคาร. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธิดารัตน์ สกุลแก้ว และอุไรวรรณ ศรีไชยเลิศ. (2565). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด รายวิชาเทคโนโลยี(วิทยากรคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านบางสะพานน้อย. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. หน้า 985-993.
บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ และบุญเกียรติ เจตจำนงนุช. (2556). คู่มือการเตรียมสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี : ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2554). เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ไพโรจน์ ภู่ทอง. (2560). การพัฒนาบทเรียน e-learning เรื่องโปรแกรมนำเสนอผลงานของนักศึกษาเจเนอเรชั่นวาย สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารปัญญาภิวัฒน์. ปีที่ 9 (กรกฎาคม): 227-235.
วิชิต แสงสว่าง. (2560). ผลการใช้บทเรียน E-Learning เรื่อง สัมมนาทางคอมพิวเตอร์ศึกษา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 19 (1): 131-145.
สุรินทร์ เพชรไทย. (2560). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์รายวิชาการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้อีเลิร์นนิ่ง. ในการประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 3. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. : 74-81.
Best and Kahn James V. (1993). Research in Education. 7 thed. Boston: Allyn and Bacon: 246.
Marc, R. J.. (2001). E-Learning: Strategies for Delivering Knowledge in the Digital Age. United State: McGraw-Hill.
Slavin, R. E.. (1980). Cooperative Learning. Review of Educational Research. 50: 315-342.