การใช้สื่อใหม่ในการประชาสัมพันธ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะการใช้สื่อใหม่ในการประชาสัมพันธ์ (2) ศึกษาเนื้อหาที่นำเสนอในสื่อใหม่ซึ่งใช้ในการประชาสัมพันธ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต  และ (3) ศึกษาศักยภาพการใช้สื่อใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์ของนักประชาสัมพันธ์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงปริมาณ  ใช้แบบสอบถามศึกษาข้อมูลจากนักประชาสัมพันธ์ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตทุกหน่วยงาน รวม 38 คน  ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างสัมภาษณ์นัก  ประชาสัมพันธ์ จำนวน 10 คน และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงปริมาณในเพจ เฟซบุ๊กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภูเก็ต 10 เพจ ผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะการใช้สื่อใหม่ในการประชาสัมพันธ์ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต เป็นดังนี้ มีการใช้สื่อผสมผสานกันทั้งสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ โดยสื่อใหม่ที่ใช้มากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันไลน์ สื่อดั้งเดิมที่ใช้มากที่สุดคือ รายงานประจำปีและรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ บทบาทของสื่อใหม่ที่โดดเด่นที่สุดคือ การเผยแพร่ข่าวสารในและนอกหน่วยงาน  (2) เนื้อหาที่นำเสนอในสื่อใหม่ซึ่งใช้ในการประชาสัมพันธ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต ส่วนใหญ่มีรูปแบบการเขียนเป็นข่าว นำเสนอด้วยตัวอักษรและภาพถ่าย หน่วยงานโพสต์มากที่สุดเฉลี่ย 4.7 โพสต์/วัน (3) ศักยภาพการใช้สื่อใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์ของนักประชาสัมพันธ์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต ด้านความรู้ในการใช้สื่อเฟซบุ๊กในการประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงสุด (ค่าเฉลี่ย 4.53)  นักประชาสัมพันธ์ควรใช้สื่อใหม่เพื่อช่วยให้เกิดการสื่อสารสองทางแบบสมดุลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน เดือนธันวาคม 2565. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.mots.go.th/news/category/657. 2566.

ชัชญา สกุณา. (2560). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อใหม่ของฝ่ายสื่อสารองค์กรมหาวิทยาลัยรังสิต. ใน อารีรัตน์ แย้มเกษร (บก.). รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2560. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรังสิต. : 620-629.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล, กฤษยา นุ่มพยา, จีราภา นวลลักษณ์, และ ชนพัฒน์ ปลื้มบุญ. (2557). การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อคุณลักษณะของตนเองและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นอื่น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 36(กรกฎาคม-กันยายน): 1-17.

เทศบาลนครภูเก็ต. (2564). เฟื่องฟ้า หลากสีสัน บานสะพรั่งรับหน้าร้อน ณ พานหิน. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/prpkcity1/posts/pfbid0o3kKycEzZDvR9WtavQiiEQ2UXgMeKTNe9MNvxHP88tfz8m3UdrsgNmgVeiM3VAmml.

ธาตรี ใต้ฟ้าพูล. (2561). การประชาสัมพันธ์ร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: 21เซ็นจูรี่.

เบ็ญจวรรณ์ ศิริปรุ. (2557). การใช้รูปแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ของเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น (บก.). รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะ ครั้งที่ 2: ชุมชนท้องถิ่นพลังแห่งการปฏิรูปประเทศไทย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. : 596-607.

ประชาสัมพันธ์ เทศบาลเมืองป่าตอง. (2564). พึงระมัดระวังการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง. [Online]. เข้าถึงได้จาก : (https://www.facebook.com/ectphuket/posts/pfbid02HCf5fu3DYGaJpyR6BmLjNFRpdpon XTY65fk7rSU2qvEA71jrCmo7DD6PBBpXPesYl

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). ยุคของ Digital PR. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.popticles.com /branding/ digital-pr/. 2563.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2559). ประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น). [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. 2566.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน เป็นรายภาค และจังหวัด พ.ศ. 2547 – 2564. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://view.officeapps.live.com/op/view.aspx?src=http%3A%2F%2 Fstatbbi.nso.go.th%2Fstaticreport%2FPage%2Fsector%2FTH%2Freport%2Fsector_08_4_TH_.xlsx&wdOrigin=BROWSELINK. 2566.

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว จังหวัดภูเก็ต. (2564). ย้ำเตือนอย่าประมาทภัยแล้ง. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid= pfbid0jd6U6C23hAnRbzrq2qMTthz6uLpMymGF8w9 n4ZhXBatnB4ecfRWb5Nx25QfbgLDSl&id=685303798286440

อบจ.ภูเก็ต – องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. (2564). นายก อบจ.ภูเก็ต ประชุมหารือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการรถบัส. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/photo/?fbid= 1353559121670536&set=pcb.1353559605003821

อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2559). การพัฒนานวัตกรรมการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ผ่านการสื่อสารเครือข่ายสังคมออนไลน์ขององค์กรธุรกิจเอกชนในประเทศไทย. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. 9(กรกฎาคม-ธันวาคม): 17-37.

อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2565). นวัตกรรมการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bashir, M. & Aldaihani, A. (2017). Public relations in an online environment: discourse description of social media in Kuwaiti organization. In Public Relation Review. 43(4): 777-787.

Cambridge Online Dictionary. (2020). New media. [Online]. Available : March, 5 2023 from https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/new-media.

Fitch, K. (2009). The new frontier: Singaporean and Malaysian public relations practitioners’ perceptions of new media. Asia Pacific Public Relations Journal. 10: 17-33.

Grunig, J, E. (2001). Two-way symmetrical public relations: past, present, and future. In R. L. Heath (Ed.). Handbook of public relations. (pp. 11-30). USA: SAGE Publications.

James, M. (2007). A review of the impact of new media on public relations: Challenges for terrain, practice and education. Asia Pacific Public Relations Journal. 8(1): 137-148.

Kemp, S. (2022). Digital 2022: Thailand. [Online]. Available : https://datareportal.com/ reports/digital-2022-thailand. 2022.

Olayinka, A. P., & Ewuola P. O. (2019). Impact of social media on public relations practice. Journal of Social Science and Humanities Research. 4(5): 65-85.

PRSA. (2022). About public relations. [Online]. Available : https://www.prsa.org/prssa/about-prssa/learn-about-pr#:~:text=Public%20relations%2C %20as%20defined%20by,the%20way %20an%20organisation%20is. 2023.

Rashid, M. S. A. (2014). Public relations & new media: a look at how new media has impacted today’s practices of public relations. [Online]. Available : https://www. academia.edu/19829682/Public_Relations_and_New_Media_A_Look_At_How_New_Media_Has_Impacted_Today_s_Practices_Of_Public_Relations

Rahman, N. A. A. (2019). The Utilization of new media in online public relations activities among the public relations practitioners. [Online]. Available : https://eudl.eu/doi/10.4108/eai.7-12-2018.2281794.

Verhoeven, P., Tench, R., Zerfass, A., Moreno, A., & Verčič, D. (2012). How European PR practitioners handle digital and social media. Public Relations Review. 38(1): 162-164.