อัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิโดยศึกษาข้อมูลจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ ระหว่างปี พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2565 จำนวน 11 บริษัท ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ตัวแปรอิสระที่ศึกษาประกอบด้วย อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน, อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม, อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม และ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ตัวแปรตามคือ มูลค่าธุรกิจ ตามวิธีการประเมินแบบ Tobin’s Q
ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนทางการเงินที่มีผลกระทบต่อมูลค่าธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมี ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 คือ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม และ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2565 (จำนวนยอดสะสม เบื้องต้น). [online] เข้าถึงได้จาก: https://www.mots.go.th/news/category/659. 2566.
ขวัญนภา เศิกศิริ, สมใจ บุญหมื่นไวย และ ธนภณ วิมูลอาจ. (2561). อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินต่อราคาตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 12(พฤษภาคม – สิงหาคม): 71-84.
จิราภรณ์ ชูพูล และ นภาพร นิลาภรณ์กุล. (2564). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 11( มกราคม-เมษายน): 39-48.
ณัฐวุฒิ รัตนา ฐนันวริน โฆษิตคณิน และนิกข์นิภา บุญช่วย. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทํากําไรของ
บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อุตสาหกรรมบริการธุรกิจโรงแรม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(เมษายน-มิถุนายน): 444-457.
ปทุมวดี โบงูเหลือม และ ชัยมงคล ผลแก้ว. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับมูลค่ากิจการ ของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกแก่สาธารณชน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 7(มกราคม-มิถุนายน): 25-43.
ปวีณา แซ่จู และ เบญจพร โมกขะเวส. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับมูลค่ากิจการของบริษัทที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน. 8(สิงหาคม): 15-30.
พรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2562). ผลการดําเนินงานมีอิทธิพลต่อมูลค่ากิจการผ่านการจัดการกําไรของบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 16(กรกฎาคม-กันยายน) : 33-42.
ภานุรุจ เหลืองไชยรัตน์ ตุลยา ตุลาดิลก ชัยวุฒิ ตั้งสมชัย และอธิเมศร์ เชษฐธีระพัชร์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการ จัดการเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 15(มกราคม-เมษายน) : 131-148
มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2548). การประเมินผลการปฏิบัติงานตามแนวคิด Tobin-Tobin’s Q. วารสารบริหารธุรกิจคณะ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 28(เมษายน-มิถุนายน): 13-22.
รัชนี ชุมนิรัตน์ และ พจนารถ ฤทธิเดช. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการดำเนินงานกับมูลค่ากิจการของ บริษัทจดทะเบียนในรายชื่อหุ้นยั่งยืน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 43 (เมษายน – มิถุนายน) : 39-60.
วรัญญา มหาวนากูล และนภสร ประสงค์ศักดิ์. การท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวอย่างไรในเชิงพื้นที่. [online] เข้าถึงได้จาก
https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/article/chaengsibia/article-2023jun13.html. 2566
Chung, K.H., and Pruitt, S.W. (1994). A simple approximation of Tobin’s q. Financial Management. 23: 70-74
Hair, J. F., Black, W. C., Babin B. J., and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.) New Jersey: Pearson Education.
Lewellen, Wilbur G. and Badrinath, S.G. (1997). “On the Measurement of Tobin’s Q”. Journal of Financial Economics. 44 (April): 77-122.