การเปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ระหว่าง วิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหา เป็นฐาน กับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

Main Article Content

ภัทราวรรณ ไกรกิจราษฎร์
เยาวเรศ ใจเย็น
วิวัฒน์ เพชรศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพก่อนเรียนและหลังเรียน วิชา พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน 3) เปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียนระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาช่างยนต์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจงแล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน โดยผลการประเมินมีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.58 และมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน โดยผลการประเมินมีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.57 และมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด 3) แบบทดสอบวัดสมรรถนะวิชาชีพ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


          ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานมีสมรรถนะวิชาชีพ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) นักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐานมีสมรรถนะวิชาชีพ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน มีสมรรถนะวิชาชีพแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 4) นักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศรา คณฑา. (2559). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่อง กฎหมายน่ารู้ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผกาวดี วุฒิ. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ PBL กับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

พงศกร ลอยล่อง, เยาวเรศ ใจเย็น และปวริศา จรดล. (2564). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL). วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 15 (2): 109-117.

วทัญญู สุวรรณประทีป. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับปัญหาเป็นฐานและแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง. (2565). รายงานผลการสอบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ปีการศึกษา 2562-2564. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/oN8Ed. 2566.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). คู่มือการจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) สำหรับศูนย์สอบ ปีการศึกษา 2562. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/LmOfC. 2566.

สมพร ปานดํา. (2563). การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะของช่างอุตสาหกรรมอาชีวศึกษาไทยในยุคดิสรัปชั่น. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา. 4 (มกราคม-มิถุนายน): 1-9.

สุพรรณี กัณหดิลก, ตรีชฎา ปุ่นสำเริง และชุติมา มาลัย. (2562). การออกแบบการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ในภาคปฏิบัติ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 39 (ตุลาคม-ธันวาคม): 129-137.

สุวิมล ภาวัง และคณะ. (2563). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเสริมต่อการเรียนรู้บนฐานของการใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (กันยายน): 175-192.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม. [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://shorturl.asia/Bz40b. 2566.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2550).การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ สกศ..

Cohen, L., et al. (2007). Research Methods in Education. (6th ed). New York: Routledge Falmer.

Koehler, A.A., et al. (2017). Examining the Role of Web 2.0 Tools in Supporting Problem Solving During Case-Based Instruction. Journal of Research on Technology in Education. [Online]. Available from : http://dx.doi.org/10.1080/15391523.2017.1338167. 2023.

Min Hee Lee and Myung Sook Park. (2016). The Effect of Case-Based Learning (CBL) on Critical Thinking Disposition, Communication Ability, Problem Solving Ability and Self-directed Learning Ability of Nursing Students in Pathophysiology Course. Journal of Korean Biological Nursing Science. 18 (August): 176–184.

Moust, J., et al. (2021). Introduction to Problem-Based Learning. (4th ed). London: Routledge.

Williams, B. (2005). Case Based Learning-a Review of the Literature: Is There Scope for This Educational Paradigm in Prehospital Education. Journal of Emergency Medicine. 22 (July): 577–581.