ผลการฝึกด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาที่บาดเจ็บข้อเข่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการฝึกด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬา ที่บาดเจ็บข้อเข่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักกีฬามหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี ปีการศึกษา 2565 ที่บาดเจ็บข้อเข่า จำนวน 20 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ใช้เวลาการทดลอง 12 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4, 8 และ 12 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือโปรแกรมการฝึกด้วยยางยืดและแบบทดสอบแรงเหยียดขา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยพบว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาที่มีอาการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ก่อนการฝึกกับหลังการฝึกสัปดาห์ 4, 8 และ 12 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ พบว่า ก่อนการฝึกกับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 ไม่แตกต่างกัน ส่วนคู่อื่นแตกต่างกันทุกคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย: การฝึกด้วยยางยืด วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน จำนวน 12 สัปดาห์ สามารถพัฒนา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาที่บาดเจ็บข้อเข่าได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกนันทร์ สุเชาว์อินทร์, กมลชนก ชมจินดา และณัฐพล แสงทอง. (2557). การศึกษาอุบัติการณ์การบาดเจ็บของนักกีฬาฟุตบอลชาย ชุมนุมฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างการฝึกซ้อมและการแข่งขัน. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 14(กรกฎาคม-กันยายน): 340-348.
กมลมาศ เบญจพลสิทธิ์ และชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์. (2557). ผลฉับพลันของการใช้ยางยืดที่มีแรงต้านต่างกันต่อพลังสูงสุดของการกระโดดแนวดิ่งในนักกีฬาวอลเลย์บอลเยาวชนหญิง. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 16(กันยายน-ธันวาคม): 28-36.
จักรวรรดิ กิ่งส้มกลาง และชิณกฤษ ไกรแก้ว. (2566). ผลการฝึกพลัยโอเมตริกด้วยการกระโดดยางที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และสมรรถภาพทางกายของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในจังหวัดจันทบุรี. วารสารรำไพพรรณี. 17(1): 165-177.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพมหานคร: สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์ จำกัด
เจริญ กระบวนรัตน์. (2558). เกษตรนวัตกรรม รวบรวมผลงานนวัตกรรมทางการค้นคว้าวิจัยในวาระครบรอบ 72 ปี แห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. ยาง ยืดชีวิตพิชิตโรค. (น. 269-270). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชาญชลัักษณ์ เยี่ยมมิตร และ ณัฐพงษ์์ จรทะผา. (2566). การออกกำลังกายด้วยกิจกรรมแอโรบิกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ จังหวัดจันทบุรี. วารสารรำไพพรรณี. 17(1): 69-77.
ถาวร กมุทศรี อารมย์ ตรีราช ฉัตรชัย ศรีวิไล และจิระ แนบสนิท, (2558). เกณฑ์สมรรถภาพทางกายนักกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทิพรัตน์ ล้อมแพน และหทัยรัตน์ ราชนาวี. (2562). ความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกายด้วยยางยืดในผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 25(กรกฎาคม-ธันวาคม): 148-167.
นิตินัย สงวนศรี และชัยชนะ นิ่มสุวรรณ. (2564). การป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 36(กันยายน-ธันวาคม): 533-544.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2563). ขนาดอิทธิพลการวิเคราะห์อำนาจการคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G*Power. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปภาวดี โพธิรุกข์. (2563). ลักษณะการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาของนักกีฬาเยาวชนในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 “บุรีรัมย์เกมส์”. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(มกราคม-เมษายน): 43-54
สมฤทัย พุ่มสลุด และศศิมา พกุลานนท์. (2555). ผลของการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความสามารถในการ ทรงตัวของผู้สูงอายุ. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9, 2385-2393.
อดินันท์ อภิวัฒน์การุญ. (2564). บาดเจ็บจากเล่นกีฬา รักษาอย่างตรงจุด กับแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์การกีฬา.
[online]. เข้้าถึึงได้จาก https:// kdms hospital.com/article/sports-injuries/
อรรถพร มงคลภัทรสุข, คมศักดิ์ สินสุรินทร์, ภิญญดา วราธนะเกษม, ปรรณกร สังข์นาค, ลออรัตน์ สุทธิวิริยะกล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบาดเจ็บรยางค์ขาในนักวิ่งมาราธอน การศึกษาเชิงสำรวจในกรุงเทพฯมาราธอน 2013. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. 18(ธันวาคม): 73-80.
Aloui, G., Hermassi, S., Hammami, M., Gaamouri, N., Comfort, P., Shephard, R. J., ... & Chelly, M. S. (2019). Effects of an 8-week in-season upper limb elastic band training programme on the peak power, strength, and throwing velocity of junior handball players. Sportverletzung· Sportschaden, 33(August): 133-141.
Audini, V. A., Doewes, M., Sabarini, S. S., & Riyadi, S. (2023). Effect of training methods and body mass index on ankle injury in futsal players. Health Technologies, 1(July): 38-45.
Curran, P. J., West, S. G., & Finch, J. F. (1996). The robustness of test statistics to nonnormality and specification error in confirmatory factor analysis. Psychological Methods, 1(March): 16–29.
Dyshko, O. L., Kosynskyi, E. O., Sitovskyi, A. M., Chodinow, W. M., & Pasichnik, V. R. (2021). The Analysis of Effectiveness of Elastic Training (Resistant) Bands Application to Develop Explosive Strength. Health, sport, rehabilitation, 7(September): 43-53.
Emery, C. A., & Pasanen, K. (2019). Current trends in sport injury prevention. Best Practice & Research Clinical Rheumatology, 33(February): 3-15.
Hammami, M., Gaamouri, N., Cherni, Y., Gaied, S., Chelly, M. S., Hill, L., ... & Knechtle, B. (2022). Effects of complex strength training with elastic band program on repeated change of direction in young female handball players: Randomized control trial. International Journal of Sports Science & Coaching, 17(December): 1396-1407.
Jakobsen, M. D., Sundstrup, E., Andersen, C. H., Persson, R., Zebis, M. K., & Andersen, L. L. (2014). Effectiveness of hamstring knee rehabilitation exercise performed in training machine vs. elastic resistance: electromyography evaluation study. American journal of physical medicine & rehabilitation, 93(April): 320-327.
Labat, G., & Hey, W. (2017). Can an elastic band resistance training program increase muscular strength. Kentucky Association of Health, Physical Education, Recreation and Dance Journal, 55(January): 33-38.
Lopes, J. S. S., Machado, A. F., Micheletti, J. K., De Almeida, A. C., Cavina, A. P., & Pastre, C. M. (2019). Effects of training with elastic resistance versus conventional resistance on muscular strength: A systematic review and meta-analysis. SAGE open medicine, 7(February): 2050312119831116.
Meng, L., & Qiao, E. (2023). Analysis and design of dual-feature fusion neural network for sports injury estimation model. Neural Computing and Applications, 35(July): 14627-14639.
Page, P., & Ellenbecker, T. S. (2019). Strength band training. Champaign, IL: Human Kinetics Publishers.
Seguin, R. C., Cudlip, A. C., & Holmes, M. W. (2022). The efficacy of upper-extremity elastic resistance training on shoulder strength and performance: a systematic review. Sports, 10(February): 24.
Utama, M. B. R., Sugiharto, S., Hidayah, T., Mukarromah, S. B., & Sutoro, S. (2022). Circuit training using elastic band: Can it improve the direction-changing agility of Kabaddi athletes?. SPORT TK-Revista EuroAmericana de Ciencias del Deporte, 11(September): 1-14.