การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการบริหารจัดการการทางพิเศษ ศึกษาเฉพาะกรณี การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการเอง (สายบางพลี - สุขสวัสดิ์) กับให้เอกชนเป็นผู้ร่วมลงทุนดำเนินการ (สายศรีรัช – วงแหวนรอบนอกรุงเทพมหานคร)

Main Article Content

โชติรวี - สว่างศรีสุทธิกุล

บทคัดย่อ

 


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการโดยการทางพิเศษ
แห่งประเทศไทยเป็นผู้ลงทุนและบริหารเอง.2) เพื่อศึกษารูปแบบการให้เอกชนเป็นผู้ร่วมลงทุนดำเนินการในลักษณะคู่ความร่วมมือในการให้บริการ และ.3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างรูปแบบการบริหารจัดการโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และรูปแบบการให้เอกชนเป็นผู้ร่วมลงทุนดำเนินการ.งานวิจัยครั้งนี้ต้องการศึกษาถึงรูปแบบการบริหารจัดการโดยการทางพิเศษ
แห่งประเทศไทยเป็นผู้ลงทุนและบริหารเอง กับรูปแบบการให้เอกชนเป็นผู้ร่วมลงทุนดำเนินการ
ในลักษณะคู่ความร่วมมือในการให้บริการมีลักษณะและกระบวนการแตกต่างกันอย่างไร หากแตกต่างกันแล้วจะส่งผลต่อประสิทธิผลที่ต่างกันหรือไม่ อย่างไร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการรวบรวมเอกสาร (Documentary.Research) ศึกษาจากเอกสาร หนังสือ ข้อมูลจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.).และบริบทที่เกี่ยวข้อง.(Context).ของข้อมูลเอกสาร
มาประกอบการพิจารณา ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth.Interview) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ส่วนบุคคล (Personal.Interview) จากผู้บริหาร และพนักงานของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ประกอบกับผู้บริหาร และข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับเรื่องที่ต้องการศึกษา


 


                ผลการศึกษาวิจัย พบว่า การบริหารจัดการทางพิเศษ กรณี กทพ. ดำเนินการเอง
(สายบางพลี-สุขสวัสดิ์) กับ ให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินการ (สายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก)
มีกระบวนการที่เหมือนกันในขั้นตอนก่อนการดำเนินการ กล่าวคือ มีการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งโดยปกติแล้วก่อนที่จะพิจารณาว่า แต่ละโครงการเหมาะกับ
การบริหารจัดการในรูปแบบที่ กทพ. บริหารจัดการเอง หรือ เอกชนร่วมลงทุน แต่ทางพิเศษสาย
บางพลี-สุขสวัสดิ์ รัฐบาลมีนโยบายให้ กทพ. ดำเนินการภายหลัง ซึ่งแต่เดิมเป็นโครงการของกรมทางหลวง โดยรัฐบาลมองว่า ต้องเร่งรัดให้ดำเนินการแล้วเสร็จก่อนท่าอากาศสุวรรณภูมิเปิดให้บริการ
เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางส่งผลให้การจราจรมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีระยะเวลาเร่งรัดในการดำเนินการมากเกินไป ช่วงก่อนการดำเนินการ กทพ. จึงไม่สามารถหาเอกชนมาร่วมลงทุนได้ภายในกำหนดระยะเวลา จึงเป็นเหตุให้ กทพ.ต้องดำเนินการเอง ทั้งนี้หากหาเอกชนร่วมลงทุนได้ทันเวลา
รัฐอาจไม่เกิดปัญหาหนี้สาธารณะในช่วงเวลานั้น ในช่วงระหว่างดำเนินการ ทางพิเศษสาย
บางพลี-สุขสวัสดิ์ ใช้วิธีจ้างเหมากับเอกชน ในขณะที่ทางพิเศษสายศรีรัช - วงแหวนรอบนอก ใช้วิธีทำสัญญาสัมปทาน 30 ปี ซึ่งความยุ่งยากของการทำสัญญาจ้างเหมาบริการ เกิดความล่าช้าเพราะพนักงาน ประกอบกับสายการบังคับบัญชาของระบบราชการ ส่วนวิธีทำสัญญาสัมปทาน ผลการทำความตกลงอาจต้องมีความรอบคอบให้มากขึ้น เพื่อมิให้เกิดข้อเสียเปรียบกับเอกชน และเกิดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เพราะผลการทำสัญญาสัมปทานดังกล่าวส่งผลต่อกระบวนการหลัง
การดำเนินการที่บริษัทเอกชนจะมีเงื่อนไขในการไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่นอกเหนือจากที่ระบุในสัญญา ทำให้ กทพ. ในฐานะรัฐบาล จึงต้องรับผิดชอบในความเสียหายดังกล่าวแทนเอกชน


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย