ทิศทางนโยบายสังคมไทย: ต่อการประกอบสร้างนโยบายที่ยอมรับกันว่าเป็นธรรม

Main Article Content

สัณหกฤษณ์ บุญช่วย

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการที่จะกำหนดกรอบทิศทางของนโยบายสังคมที่จะมองภาพกว้างของสังคมไทยที่มีปัญหาเกิดขึ้นจริงในขณะนี้และนำเสนอบรรดานโยบายที่จะพยายามลดทอนปัญหาเหล่านั้นได้อย่างละมุนละม่อม  โดยอาศัยกรอบกระบวนทัศน์ที่ได้มีการประยุกต์ปัญหาตามบริบทของสังคมที่เกิดขึ้นตามกรอบแนวคิดทฤษฎีที่ผสมผสานกันระหว่างรัฐศาสตร์  เศรษฐศาสตร์การเมือง  และสังคมวิทยา  ทำให้มองเห็นทิศทางในอนาคตต่อการออกนโยบายสาธารณะที่รัฐซึ่งเป็นผู้กำหนดจะต้องมีนโยบายที่มีความชัดเจน  กล่าวคือเมื่อนำมาปฏิบัติต้องมุ่งผลลัพธ์ไปสู่ประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม  และวัดเป็นมูลค่าได้ออกเป็นตัวเลขที่มีความเที่ยงตรง  ทั้งนี้จะต้องมุ่งให้ความสำคัญในการที่จะต้องลดบทบาทภาครัฐส่วนกลางในการครอบงำกระบวนการนโยบาย  และไปเน้นการเพิ่มอำนาจต่อรองของภาคประชาชนให้มีสิทธิ  มีเสียง  และเข้าถึงข้อมูลความจริงเพื่ออย่างน้อยที่สุดจะทำให้ภาคประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงได้รู้สึกยอมรับร่วมกันว่าได้รับความเป็นธรรมจากสังคมนี้  ถือเป็นแนวทางที่แก้ไขปัญหาในสภาวการณ์นี้แบบละมุนละม่อม  ผ่านนโยบายที่เป็นรูปธรรมที่จะสามารถเป็นเข็มทิศนำทางที่มีความชัดเจน  มุ่งผลสัมฤทธิ์ให้เกิดกับภาคประชาชนที่สามารถวัดได้จริง  และสามารถได้รับความยินยอมจากภาคประชาชนได้อย่างแท้จริง  ได้แก่  นโยบายการกระจายความเป็นธรรม  3  ด้าน คือ  1) เศรษฐกิจ  ไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาษี ทั้งภาษีที่ดิน ภาษีมรดกที่จะต้องสามารถจัดเก็บจากผู้ที่มีทรัพย์สินรายได้ให้ได้อย่างจริงจัง  หรือนโยบายในการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย  และกลางให้สามารถแข่งขันได้ในระดับชาติ  2)  นโยบายในด้านการเมือง  จะต้องมีการกระจายอำนาจจากรัฐบาลส่วนกลางไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างจริงจังให้ท้องถิ่นสามารถมีอิสระในการจัดการและแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นได้ด้วยวิถีของตนเองให้มากที่สุด  และ  3)  นโยบายด้านสังคมที่พยายามมุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้วยการเป็นรัฐสวัสดิการ  ประชาชนจำต้องเข้าถึงสวัสดิการได้อย่างถ้วนหน้า  และเท่าเทียมกัน  ไม่ว่าจะเป็นการจัดการศึกษา  หรือไปจนกระทั่งการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุข

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พรชัย ขันตี และคณะ, ทฤษฎีอาชญาวิทยา: หลักการ งานวิจัย และนโยบายประยุกต์, (กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์, 2558), 185.

สุเทพ เอี่ยมคง, ความปรองดอง: ก้าวแรกของการปฏิรูปประเทศ, (กรุงเทพ ฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2558), 3

Claudio Sopranzetti, “Burning Red Desires: Isan Migrabts and the Politics of Desire in Contemporary Thailand.”, South East Asia Research, 20(3), 2012, 361-379.

อนรรฆ พิทักษ์ธานิน, “ปริทัศน์งานศึกษา ความเหลื่อมล้ำ และไม่เป็นธรรมในสังคมไทย”. วารสารวิจัยสังคม. ปีที่ 37 ฉบับที่ 2, กรกฎาคม - ธันวาคม 2557, หน้า 281 – 292.

Tyrell Haberkorn, In Plain Sight: Impunity and Human Rights in Thailand, (Madison: University of Wisconsin Press, 2018)

ไมเคิล เจ. แซนเดล, ความยุติธรรม ค้นหาความหมาย ปรัชญา และวิวาทะว่าด้วยความยุติธรรมในทุกมิติผ่านตัวอย่างร่วมสมัยในชีวิตจริง. แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล. (พิมพ์ครั้งที่ 4), (กรุงเทพ ฯ: ซอลท์ พับลิชชิ่ง, 2563), 74.

ผาสุก พงษ์ไพจิต,“ประชาธิปไตยแก้คอร์รัปชั่นได้ที่ดีที่สุด"ผาสุก พงษ์ไพจิตร”(เว็บไซต์),https://www.posttoday.com/politic/report/382771 (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563).

วรรณนภา วามานนท์, “กระบวนการนโยบายสาธารณะในประเทศไทย”, วารสารเกษมบัณฑิต, ปีที่ 19 ฉบับพิเศษเดือน มีนาคม 2561, 1.

กนกศักดิ์ แก้วเทพ, มรรควิธีเศรษฐศาสตร์การเมือง, (กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550), 8.

พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ (ตุนิน), สันติภาพบนพื้นฐานความยุติธรรม: วิเคราะห์แนวคิดปรัชญาการเมืองของคาร์ล มาร์กซ, (ดุษฎีนิพนธ์, สาขาวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556), บทที่ 3.

วัชรพล พุทธรักษา, บทสำรวจความคิดทางการเมืองของอันโตนิโอ กรัมชี่, (กรุงเทพ ฯ: สมมติ, 2557), 113.

สุรพงษ์ ชัยนาม, อันโตนิโย กรัมชีกับทฤษฎีว่าด้วยการครองความเป็นใหญ่ ภาคผนวก. ใน เจอโรเม่ คาราเบล. ความขัดแย้งของการปฏิวัติ: อันโตนิโย กรัมชี กับปัญหาของปัญญาชน, (กรุงเทพ ฯ: text, 2557).

พรชัย ขันตี และคณะ, ทฤษฎีอาชญาวิทยา: หลักการ งานวิจัย และนโยบายประยุกต์, อ้างแล้ว, 302.

Louise Warwick – Booth, Social Inequality, (Second edition), (London: Sage, 2019), 21.

ไมเคิล เจ. แซนเดล, ความยุติธรรม ค้นหาความหมาย ปรัชญา และวิวาทะว่าด้วยความยุติธรรมในทุกมิติผ่านตัวอย่างร่วมสมัยในชีวิตจริง, แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล, (พิมพ์ครั้งที่ 4), (กรุงเทพ ฯ: ซอลท์ พับลิชชิ่ง, 2563), 18 – 19.

อนุชา ปิ่นทองพันธ์, “ศึกษาผลกระทบของการใช้มาตรา 44 ที่มีผลต่อหลักนิติรัฐกรณีศึกษา: เหมืองทองอัครา”. เอกสารสืบเนื่อง การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5. 1 - 2 พฤศจิกายน 2562, หน้า 566 - 580.

จักรกริช สังขมณี, “ย้อนคิดว่าด้วยชีวิตทางการเมืองของชาวบ้าน: การเมืองในชนบทที่มากกว่าการ เลือกตั้งและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม”, วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, ปีที่ 30 ฉบับที่ (2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2554, 50.

วรรณนภา วามานนท์, “กระบวนการนโยบายสาธารณะในประเทศไทย”, วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 19 ฉบับพิเศษเดือน มีนาคม 2561, 2.

สัณหกฤษณ์ บุญช่วย, การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันอาชญากรรมในเขตภาคกลาง, (ดุษฎีนิพนธ์, ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561), บทคัดย่อ.

วรรณนภา วามานนท์, “กระบวนการนโยบายสาธารณะในประเทศไทย”, วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 19 ฉบับพิเศษเดือน มีนาคม 2561, 2.

วสันต์ เหลืองประภัสสร์ และคณะ, ขับเคลื่อนการบริหารราชการ แบบประชารัฐที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง, (กรุงเทพ ฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2563).

Zur Erlangung des akademischen GradesParticipatory, Governance, Accountability, And Responsiveness: A Comparative Study of Local Public Service Provision in Rural Guatemala. (2011).

จักรกริช สังขมณี, “ย้อนคิดว่าด้วยชีวิตทางการเมืองของชาวบ้าน :การเมืองในชนบทที่มากกว่าการเลือกตั้งและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม”, อ้างแล้ว, 49 – 50.

Brenton Holmess, Citizens’ Engagement in Policymaking and the Design of Public Services. (Australia: Parliament of Australia, 2011), 76.

วุฒิสาร ตันไชย และคณะ, รายงานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ, (กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2556)

สติธร ธนานิธิโชติ, การสร้างความปรองดองแห่งชาติ: กรณีศึกษาประเทศเกาหลีใต้, (กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2555).

Leanne S. Giordono. et.al, “Social Policy Perspectives on Economic Inequality in Wealthy Countries”, PSJ Policy Studies Journal, Volume 47, Issue S1 Special Issue: Public Policy Yearbook 2019, https://onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.1111/psj.12315 (accessed 2 December 2020),

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ "สู่สังคมไทยเสมอหน้า การศึกษา โครงสร้างความมั่งคั่ง และโครงสร้างอำนาจเพื่อการปฏิรูป", (กรุงเทพ ฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2556), 8.

ดวงมณี เลาวกุล, “Thailand Unsettled EP.5 | ดวงมณี เลาวกุล: รากเหง้าและทางออกจากความ เหลื่อมล้ำ.”,2562, ประชาไท (เว็บไซต์), https://prachatai.com/journal/2019/03/81366 .(สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563).

วุฒิสาร ตันไชย, ก้าวข้ามความเหลื่อมล้ำ: ความท้าทายของสังคมไทย, อ้างแล้ว, คำนำ.

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย, ผลสำรวจคดี “บอส อยู่วิทยา” ประชาชน เชื่อ “มีอำนาจอื่นแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม” แต่มีเพียงร้อยละ 25 เชื่อว่าจะ “ปฏิรูปได้” ,2563, TIJ. (เว็บไซต์), https://www.tijthailand.org/th/highlight/detail/tij-poll-case-saravoot-yoovidhya (สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2563).

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, “101 One-On-One Ep.178 “ความท้าทายใหม่ของระบบยุติธรรมไทย” กับกิตติพงษ์ กิตยารักษ์”, 101 One-On-One (เว็บไซต์), https://www.youtube.com/watch?v=RzXlIOxaeGQ (สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2563).

ดวงมณี เลาวกุล, “Thailand Unsettled EP.5 | ดวงมณี เลาวกุล: รากเหง้าและทางออกจากความ เหลื่อมล้ำ.”, อ้างแล้ว, 2.

นวลน้อย ตรีรัตน์, “ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจด้วยประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ”, สถาบันพระปกเกล้า (เว็บไซต์),2562, https://www.youtube.com/watch?v=a8tRftBVF4Y (สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563).

สมชัย จิตสุชน, “ความเหลื่อมล้ำ 2020 (ตอน 2): เราควรทำอะไร”, สถาบัน TDRI (เว็บไซต์), 2563,

https://tdri.or.th/2020/01/thai-inequality-what-we-should-do/ (สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563).