โค่นยักษ์เพื่อสถานภาพ Social Stigmatisation of Status Dissatisfaction กับกรณีศึกษา สงครามรัสเซียญี่ปุ่น 1904-1905

Main Article Content

Peera Charoenvattananukul

บทคัดย่อ

สงครามระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่นในช่วงปี ค.ศ. 1904-1905 นับว่าเป็นสงครามที่มีนัยสำคัญต่อสถานะของชาติในเอเชียเป็นอย่างยิ่งเพราะว่านั่นคือสงครามใหญ่ครั้งแรกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 อีกทั้งยังเป็นสงครามที่ชาติเอเชียขนาดเล็กสามารถชิงชัยเหนือมหาอำนาจขนาดใหญ่อย่างรัสเซียได้ คำถามคือเพราะเหตุใดญี่ปุ่นจึงกล้าท้าทายรัสเซียทั้งที่ถ้าหากว่ารัสเซียพ่ายแพ้นั้นก็จะเป็นเพียงแค่ความเสียหายส่วนน้อยในเอเชียตะวันออกเท่านั้นหากแต่ถ้าญี่ปุ่นปราชัยนั้นก็จะเป็นความยับเยินเกินกว่าประมาณการ เพื่อที่จะตอบคำถามทางประวัติศาสตร์นี้ บทความชิ้นนี้จึงสังเคราะห์ทฤษฎีที่ว่าด้วยการแสวงหาสถานะเข้ากับทฤษฎีที่ว่าด้วยการทำให้รู้สึกด้อยค่า (stigmatisation) ซึ่งบทความนี้เรียกว่าทฤษฎี “social stigmatisation of status dissatisfaction” โดยที่กรอบทฤษฎีดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่าการเผชิญหน้าของญี่ปุ่นกับมาตรฐานความศิวิไลซ์แบบตะวันตกนั้นทำให้ญี่ปุ่นรู้สึกด้อยค่าและต้องการปรับตัวเพื่อแสวงหาสถานะและการยอมรับ ซึ่งความปรารถนาในสถานภาพระหว่างประเทศที่ว่านั้นขับเคลื่อนนโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่นในยุคสมัยเมจิ นอกจากนี้ บทความยังเสนอต่อว่าสาเหตุที่ญี่ปุ่นรบกับรัสเซียนั้นเพราะว่ารัสเซียไม่ให้การยอมรับญี่ปุ่นในฐานะชาติที่มีความเท่าเทียมโดยที่รัสเซียไม่ยอมรับสิทธิของญี่ปุ่นที่พึงมีในเขตอิทธิพลในเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่เอื้อให้มติมหาชนชาวญี่ปุ่นกดดันให้รัฐบาลใช้สงครามเพื่อแก้ไขปัญหากับรัสเซีย

Article Details

บท
บทความวิจัย